ทุกอย่างมีดี-มีเสียเสมอครับ รับรองว่าท่านจะไม่ได้ยินเรื่องพวกนี้จากผู้ขายสินค้าหรือผู้ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ซักเท่าไหร่ เพราะเค้ามุ่งแต่จะขายให้ได้ จริงๆแล้วผมไม่อยากให้มองว่าผมมาบอกว่าระบบโซล่าโซลล์มันไม่ดีอย่างไร แต่ผมอยากให้เข้าใจว่าผมมาแนะนำข้อควรระวังมากกว่าครับ มาว่ากันทีละอุปกรณ์เลยครับ
- แผงโซล่าเซลล์มีหลายมาตรฐาน แผงขนาด W เท่ากัน แต่ฟังก์ชั่นองค์ประกอบของแผงต่างกัน จึงทำให้ราคาต่างกัน ยกตัวอย่าง กระบวนการเข้ากรอบแผงโซล่าเซลล์ กระจกนิรภัยหน้าแผง จุดต่อสายด้านหลังแผง คุณภาพของเซลล์ ฯ เหล่านี้ล้วนเป็นตัวกำหนดคุณภาพ ราคา และอายุการใช้งานทั้งสิ้นครับ...แล้วคุณกำลังใช้แผงคุณภาพระดับใหนอยู่หละ
- ตัวเซลล์ ของแผงโซล่าเซลล์จริงๆบางมาก หากไม่มีกระจกนิรภัย มือเราไปโดนแรงนิดเดียวก็ไม่ได้ครับ
- สำหรับไอเดียใครที่ต้องการเพิ่มกำลัง W ของแผงโซล่าเซลล์โดยการใช้กระจกเงาสะท้อนแสงใส่แผงโซล่าเซลล์ ไอเดียท่านใช้ได้ แต่แผงโซล่าเซลล์อายุจะสั้นลงครับ เพราะที่ไปกระทบแผงโซล่าเซลล์มันไม่ใช่แค่แสงสว่าง แต่มันมีความร้อนด้วย(แผงโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าได้ % สูงสุดตอนที่อุณหภูมิ 25 องศา C)
- เครื่องควบคุมการชาร์จและจ่ายไฟหัวใจของมันคือระบบ Microprocesser(เขียนถูกป่าวนิ) ซึ่งเรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ควรดูที่ราคาและการแสดงผลของระบบประกอบกัน ใครซื้อของถูกๆไป แรกๆอาจใช้ได้ดี แต่นานวันไปไม่ถึงครึ่งปี อยู่ดีๆไฟไม่พอใช้เพราะเครื่องไม่ชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ หาสาเหตุไม่เจอ แนะนำให้เปลี่ยนเครื่องควบคุมการชาร์จครับ
- เครื่องควบคุมการชาร์จหากต่อขั่วแผงโซล่าเซลล์ไม่เป็นไร แต่ถ้าต่อแบตเตอรี่ผิดอาจจะพังได้ทันที ขั่วโหลดก็เหมือนกันครับ ดังนั้นระวังเรื่องขั่ว + และ - ให้มากๆ
- มดทำพัง เพราะไข่ของมันเป็นตัวนำไฟฟ้าได้ ทำให้เกิดการลัดวงจรในระบบอิเล็กทรอนิกส์
- แบตเตอรี่เฉพาะงานด้านโซล่าเซลล์ยังแพงอยู่มาก จะใช้แบตเตอรี่รถยนต์แทนก็ชาร์จเข้ายาก ต้องรอสายๆแดดแก่ๆ ดังนั้นควรวางแผนให้คุ้มค่าเงินลงทุน
- เพิ่งนึกได้ครับ วกไปที่แผงโซล่าเซลล์อีกนิดหนึ่งนะ ผมเคยเอาแผงโซล่าเซลล์จากหลายๆที่มาวางเรียงกัน ในร่ม ข้างนอกแดดจัด วางในร่มห่างจากแดดประมาณ 1 เมตร วางเรียงกันแล้วลองวัดไฟที่แผงโซล่าเซลล์แต่ละแผงผลิตได้มาเทียบกันดู ผลคือ ไม่เท่ากันครับ ถึงเข้าใจว่าทำไมแผงโซล่าเซลล์ W เท่ากัน แต่ราคาไม่เท่ากัน ตาดีได้ ตาร้ายเสีย ถ้าท่านไม่มีความรู้ทางด้านไฟฟ้า ควรเป็นอย่างยิ่งที่ควรหาช่างที่ใว้ใจได้คอยแนะนำ
- ต่อเรื่องแบตเตอรี่ หากใครใช้แบตเตอรี่แบบเปียก ก็ต้องคอยดูแลน้ำกลั่นให้ดี ลูกค้าบางคนบ่นว่าทำไมไฟไม่พอใช้แต่ก่อนไฟใช้เท่าไหร่ก็ไม่หมด พอไปเช็คให้น้ำกลั่นในแบตเตอรี่แห้งสนิทครับ เส้นผมบังภูเขาแท้ๆ เรื่องง่ายๆที่คนเรามักมองข้ามครับ
- ทีมงานผมเคยต่อเครื่องแปลงไฟเข้าแบตเตอรี่ผิดขั่ว ผลคือ แบตเตอรี่ระเบิดเลยครับ น้ำกรดกระจาย ล้างตัวแทบไม่ทัน ซึ่งไม่ค่อยจะมีเหตุการแบบนี้ ส่วนมากจะแค่ฟิวส์ที่เครื่องแปลงไฟขาด อาจเป็นเพราะเครื่องแปลงไฟตัวนี้เครื่องใหญ่ และมีไฟค้างอยู่ในเครื่องก็เป็นได้
- แบตเตอรี่ส่วนใหญ่จะเป็นแบต 12V ในระบบผลิตไฟฟ้าด้วยโซล่าเซลล์บางทีต้องใช้หลายลูกมาขนานหรืออนุกรมกัน ทำให้กระแสเพิ่มขึ้นมากตามไปอีกหลายเท่าตัวตามจำนวนแบต หากเกิดการช๊อตหรือลัดวงจะจะอันตรายมาก เหล็กก็ยังละลายได้ทันทีครับ(หลักการเดียวกันกับเครื่องเชื่อมเหล็ก)
- จิ้งจก ชอบเครื่องแปลงไฟมาก คงเป็นเพราะมันอุ่น จะปิดรูที่เครื่องแปลงไฟก็ไม่ได้เพราะต้องใช้ระบายอากาศ ระบายความร้อนของเครื่อง มดนี้ก็ชอบเข้าไปวางไข่ หาวิธีป้องกันได้เด็ดขาดยากมากครับ
- หลายครั้งที่เครื่องแปลงไฟลูกค้าเสีย ผมนำมาแกะดูปรากฎว่าจิ้งจกแห้งตายอยู่ข้างใน สภาพศพจากการชันสูติ(บึ๋ย) มีสาเหตุจากไปวางตัวพาดทางเดินกระแสไฟในระบบ Inverter ขนาดเหล็กยังละลาย แล้วขี้เจี้ยมจะไปเหลืออาร๊ายยยย..
- กรณีที่มีการลากสายไฟยาวๆนำไฟ(AC)ที่ระบบโซล่าเซลล์ผลิตได้ไปใช้ไกลๆ มีข้อเสียคือ หากสายไฟไม่ใหญ่พอ ไฟจะตก แต่เครื่องแปลงไฟไม่พังนะ จะพังก็ตอนที่ฟ้าผ่าใกล้บริเวณนั้น ได้เปลี่ยนตัวใหม่แน่นอนครับ (ยกเว้นใครมีอุปกรณ์ป้องกันนะ)
- ในมุมของผู้ให้บริการติดตั้ง มีความรู้ความสามารถแค่ใหนในการคำนวณระบบ ฝีมือการติดตั้งสวยงามลงตัวกับภูมิทัศน์หรือไม่ หลังรับเงินจากลูกค้าแล้วมีบริการหลังการขายดีแค่ใหน การรับประกันอุปกรณ์แต่ละอย่างยาวนานแค่ใหน ถ้าเจอช่างที่ทำงานเพื่องานก็ดีไปสำหรับชาวบ้าน แต่ถ้าไปเจอช่างที่ทำงานเพื่อเงินหละก็ จบกัน
- ในด้านของเจ้าของระบบหรือชาวบ้านที่รอใช้ไฟฟ้า ปัญหาใหญ่ที่สุดคือ ความอยาก คืออยากใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าโน่น นี่ เกินกำลังการผลิตของระบบโซล่าเซลล์ตนเอง ทั้งด้านจำนวนอุปกรณ์ไฟฟ้า และด้านเวลา ผมเจอบ่อยมากครับ อธิบายหลายๆรอบจึงจะเข้าใจ อีกกรณีคือต่อระบบไฟฟ้าในบ้านใช้เอง แต่ไม่มีความรู้เรื่องไฟฟ้า ระบบก็พังไปตามๆกัน(บ่นๆๆๆๆๆ)
- อันนี้เข้าใจตรงกันครับ ไฟฟ้าที่ได้มาจากแดด วันใหนแดดไม่มี วันนั้นเราต้องใช้ไฟเท่าที่จำเป็น
- ประเภทสินค้าโซล่าเซลล์สำเร็จรูปที่ด้านในมีแบตเตอรี่อยู่ด้วย คือพร้อมใช้งานได้เลย เช่น โคมไฟพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Garden Ligth จะมีกี่ยี่ห้อกันที่บอกผู้ซื้อว่า ข้างในมีแบตเตอรี่ชนิด NiMH (นิกเกล-เมทัล-ไฮไดรด์) ซึ่งการใช้งานครั้งแรกต้องชาร์จ(ด้วยแดด)ให้ได้นานที่สุด(คล้ายๆกับการใช้โทรศัพท์มือถือครั้งแรกที่ซื้อมา) ดังนั้นเมื่อเราซื้อสินค้าโซล่าเซลล์มาแล้ว เราต้องเลือกวันเริ่มใช้งานให้ดี เพราะมันมีผลกับอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ข้างในคร๊าบบบ...
- เลือกชมและเช็คราคาสินค้าโซล่าเซลล์ คลิกที่นี่
- มาถึงคิวระบบ Solar roof ครับ ผมคัดเอาความเห็นของผู้รู้ ที่เค้าคุยกันในเว็บพันทิพย์มาให้อ่าน(ย้ำ...ไม่ใช่ความเห็นผมนะ) มันมีข้อมูลอะไรที่เรายังไม่รู้บ้าง ไปอ่านดู
ท้าวความ เรื่องย่อนิดนะครับ พอดีว่ามีคนโพสให้ข้อมูลความรู้ดีๆ ของระบบ Solar roof ค่าใช้จ่าย และจุดคุ้มทุน ให้ชาวบ้านเราๆท่านๆได้รู้กัน ตามรูปด้านล่างครับ
แล้วมีความคิดเห็นตามมาดังนี้
ความคิดเห็นที่ 22
คิดผลตอบแทนมั่วมาก ขายได้ 7-8พันต่อเดือน ไม่หักต้นทุน ยังไม่ถึงเลยไหนจะค่าบำรุงรักษา การเสื่อมคุณภาพของแผงถ้าโซล่าเซลล์ดูแล้วน่าจะได้ไม่เกิน7% แต่ผมว่าได้5% เท่าแหละคุณฝากธนาคาร1แสนดอก5% เขาจ่ายให้ทุกปี 25ปี ถอนต้นคืน ไอ้ solar panels ไปถอนกับใคร มันหมดสภาพไปแล้ว
ความคิดเห็นที่ 25
โซล่าเซลล์ เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าความมั่นคงต่ำ มีความไม่แน่นอนในการผลิตสูง
แถมต้องจ่ายเงินเพิ่มให้ผู้ผลิตอีก
การคำนวน กำลังผลิตของแผงโซล่าเซลล์ โดยมากจะคำนวน ตามที่การไฟฟ้าจ่ายให้สูงสุด คือ 14.84%
หรือ ประมาณ 730 บาท/1Kw/เดือน หรือ ประมาณ 3.56 ชั่วโมงต่อวัน
อย่างที่ จขกท. บอก ประมาณ 700 บาท/เดือน ต่อ แผง 1 kW
ถ้าติดขนาด 10kW ก็ฟันเนาะ 7,000 บาท/เดือน
เอาละลองมาดูผลตอบแทนที่แท้จริง ว่ามันถึง 20% หรือเปล่า
เอาแบบง่ายๆ สูงสุดที่จะได้รับ คือ 7,000 * 12 เดือน ก็คือ 84,000 บาท
อันนี้แบบ ไม่เสีย ไม่เสื่อม (ของจริง ไม่มีหรอกครับ แบบนี้)
ลงทุน เอาตามเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่ จขกท บอกแล้วกัน 5 แสน ยังได้แค่ 16.8%
แถมเป็นผลตอบแทนแบบไม่คืนทุน ถ้าคิดแบบหักทุน ก็เหลือ 12.8%
แต่เอาเข้าจริงๆ นี่ได้ 7% ผมก็ว่าหรูแล้ว
ผม สงสัยมากถ้ากำลังผลิตมันดี ขนาดนั้น
ทำไม ผู้ขายไม่รับประกัน กำลังการผลิต ล่ะ บอกว่าเดือนละ 700 บาท/เดือน/1kW
ผู้จำหน่าย รับประกันสัก 400 บาท/เดือน/1kW ก็พอ ยังเห็นมีที่ไหนทำ
หรือแม้แต่เช่าหลังคาบ้าน ทำก็ยังไม่เห็นทำกันเลย
ว่าด้วย เรื่องฤดูกาลประเทศไทย
- ฤดูร้อน อากาศร้อน ประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์จะลดต่ำลง เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
- ฤดูฝน ฝนตก ฟ้าปิดบ่อย แน่นอนส่งผลต่อการผลิต
- ฤดูหนาว ดีหน่อยอุณหภูมิไม่สูง ผลิตได้เต็มที่ แต่มัน 4 เดือนเท่านั้นจ๊ะ
ถ้าคำนวนตาม ฤดูกาล เขาว่าได้เดือนละ 7000 บาท ที่ 10kW
ฤดูร้อน ให้สัก 80% 4 เดือน จะได้ 7000*4*80% = 22,400 บาท
ฤดูฝน ให้ 50% 4 เดือน 7000*4*50% = 14,000 บาท
ฤดูหนาวให้ 100% 4 เดือน 7000*4*100% = 28,000 บาท
รวม 70,000 บาท/ปี ถ้าลงทุน 5 แสน จะได้ผลตอบแทน 14%
ถ้าหักทุนไปอีก ก็เหลือ 10%
อันนี้อย่างมาก ผมให้ 5% ก็หรูแล้ว
คิดไปคิดมา ฝากธนาคารดีกว่าไหม ทุนไม่หายด้วย
ถ้าที่ว่ามาผมกล่าวไม่ถูกต้อง
จขกท หรือ ผู้ผลิต หรือ ผู้จำหน่าย
เอาหลักฐาน Data logger การผลิต มาดูเลยว่าได้เท่าไร ในแต่ละวัน แต่ละฤดู
จขกท. บอกมาติดมา 7 ปีแล้ว มีบันทึกไหมว่า ได้เท่าไร ในแต่ละวัน เอามาชม
แต่การไฟฟ้าจะรับซื้อที่ราคา 6.85 บาท จำนวน 12,999 หน่วยต่อปี (10*365*24*14.84%)"
"ติดที่ 10 Kw น่าจะผลิตไฟได้ประมาณ (10 Kw * 4.5 ชม.ต่อวัน * 365 วัน) = 16425 หน่วยต่อปี"
"ที่เหลือ ให้ที่ 3 บาท"
เพราะฉะนั้น จะเป็นรายได้
(6.85 * 12,999) + (3424 * 3) = 99,315.15 บาท ต่อปี ; ไม่คิดอัตราการสูญเสียจากการผลิต
ถ้าต้องเสียภาษี 10% จะเหลือรายได้ : 99,315.15 *0.9 = 89,383.635 บาทต่อปี
ถ้าลงทุน 7 แสน จะคืนทุนใน 700,000/89383.635 = 7.8 ปี ; ไม่คิดค่าเสื่อมอุปกรณ์ และค่าบำรุงรักษา
นั่นคือ เงินจะจม ไป 7.8 ปี ( 8 ปี ) ผลตอบแทนคือ แผงโซล่าเซลล์มือสอง ที่ผ่านการใช้งานมา 8 ปี
ถ้าลงทุน 10 ปี ผลตอบแทนคือ (89,383.635 *2) + แผงมือสองอายุ 10 ปี = 178,767.27+ แผงมือสองอายุ 10 ปี
คิดเป็น 25%<ต่อสิบปี> + [แผงมือสองอายุ 10 ปี]
ตัวแปรอยู่ที่ แผงมือสองอายุ 10 ปี จะเหลือมูลค่าเท่าไหร่?? (ผมไม่รู้) แทงก๊ั๊กมั่วๆ จากเสื่อมสภาพ และเทคโนโรยีใหม่ๆ
ให้ราคาเหลือ 30% = 700,000*0.3 = 210,000 บาท
หลังจากผ่านไปสิบปี เมื่อหักเงินลงทุน7 แสนบาทแล้ว จะได้เงินมาทั้งสิ้น = 178,767.27 +210,000 บาท =388,767.27 บาท
คิดเป็น 55.53 % ในสิบปี เป็นผลตอบแทน
แบบทบต้น x^10 = 1.5553 --> x = 1.045 --> 4.5% ต่อปี
หรือถ้าคิดแบบหารเฉลี่ยเท่าๆกัน 5.553% ต่อปี
โดยต้องแบกรับความเสี่ยง
1.เรื่องค่าบำรุงรักษา
2.ความไม่แน่นอนองแสงแดด
3.ค่าเสียโอกาสเอาเงินไปลงทุนอย่างอื่น
4.เงินเฟ้อ (ส่วนตัวชอบใช้อัตราเงินเฟ้อราคาข้าวแกงเป็นฐาน จะประมาณ 5-7% ต่อปี)
5.หากทุกคนติดโซล่ารูฟ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ต้นทุนค่าไฟจะแพงขึ้น นั่นคือ ค่าไฟตามบ้านจะสูงขึ้นโดยอัตโนมัติ
(แต่ได้การรักษาธรรมชาติมาทดแทน) note : ยังไงต้นทุนจากถ่านหินก็จะต่ำกว่ามาก*** แน่นอน
ความคุ้มค่า
1.ไม่คุ้มค่าอัตราเงินเฟ้อราคาข้าวแกง
2.ลงทุนหุ้นพื้นฐาน 10 ปี คุ้มกว่าเยอะนะผมว่า (ฝากกองทุนก็ยังดี)
3.ฝากเอาไว้เป็นสภาพคล่องยังคุ้มกว่า ; สำหรับคนทั่วไปที่ไม่ได้มีเงินเหลือเยอะแยะอะไร
4.ได้การรักษาธรรมชาติมาแทน
สรุป
เป็นเทคโนโลยีที่ดี แต่ยังไม่ถึงเวลาที่นำมาใช้จริง ยังต้องการการพัฒนาเรื่อง ราคาขายต่อประสิทธิภาพ อีกเยอะพอสมควร
การนำเอาเทคโนโรยีที่ไม่พร้อม มารีบใช้งาน แม้ว่าเทคโนโรยีนั้นจะดีมาก ก็จะมีแต่ผลเสียครับ
note : เท่าที่ได้อ่านข่าวงานวิจัย เห็นว่าในอนาคต น่าจะผลิตใช้เทคโนโลยีนี้ได้ในประสิทธิภาพที่ดีกว่านี้มาก รวมไปถึงการติดตั้งและความสวยงามด้วย จะให้ติดตั้ง คงต้องรอทุกอย่างพร้อมกว่านี้