วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2560

เหตุผล 7 ประการที่เนเธอแลนด์ คือ ประเทศแห่งโลกอนาคต



          เนเธอร์แลนด์นั้น มักจะมีชื่อเสียงในด้านการออกแบบสิ่งใหม่ๆ หรือโครงการต่างๆ ที่ทำให้ผู้คนทั่วโลกประหลาดใจและประทับใจอยู่เสมอ โดยล่าสุดทางเว็บไซต์ Bright Side ก็ได้นำเสนอความเป็นจริงเกี่ยวกับประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศในอุดมคติที่หลายๆ ประเทศใฝ่ฝันอยากให้เป็นในโลกอนาคตอันใกล้นี้เลย


1. เป็นประเทศเดียวที่ไม่มีสัตว์เลี้ยงถูกทอดทิ้ง

         เรื่องนี้ได้รับการยืนยันเมื่อไม่นานมานี้ ว่าปรเทศเนเธอร์แลนด์ไม่มีสัตว์ที่ถูกทิ้ง หรือไม่มีกระทั่งหมาจรจัดเลย ทั้งนี้เป็นเพราะว่ารัฐบาลมีความเข้มงวดในกฏหมายที่ว่าด้วยสิทธิสัตว์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการทารุณและทอดทิ้งสัตว์เลี้ยง
2. จุดชาร์จไฟสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ที่ตั้งห่างไม่เกิน 50 เมตร ในแต่ละพื้นที่
          
         หนึ่งในจุดเด่นของประเทศเนเธอร์แลนด์คือการมีระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพ นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้เนเธอร์แลนด์พยายามจะหยุดการใช้ยานพาหนะที่ต้องใช้น้ำมันเบนซินและดีเซล แต่หันมาใช้รถไฟฟ้าที่อาศัยการชาร์ตแบตแทน
3. เนเธอร์แลนด์มีเลนจักรยานที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นประเทศแรกของโลก
          โครงการที่เรียกว่า SolaRoad เกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและสถาบันการศึกษา โดยเส้นทางสายแรกเปิดในปี 2015 มีความยาวเพียง 100 เมตร แต่ก็ถือว่าเป็นความก้าวหน้าอย่างมากสำหรับการสร้างถนนในอนาคต แนวคิดหลักของโครงการนี้คือการผลิตไฟฟ้าเพื่อเพียงพอต่อการให้แสงสว่างถนนและการชาร์จแบตยานพาหนะ
4. ในเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหนึ่งซึ่งไม่มีคนขับรถยนต์เลย
          นับตั้งแต่ปี 1980 พลเมืองกว่า 4,000 คนในเมือง Houten ได้รณรงค์ให้ใช้รถจักรยานมากกว่ารถชนิดอื่นๆ ตั้งแต่นั้นมาผู้คนก็หันมาใช้จักรยานกันมากขึ้นตามลำดับ
5. เป็นประเทศที่กำลังจะห้ามจำหน่ายรถใช้เชื้อเพลิงเบนซินและดีเซล
          ในปี 2025 ประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งเป้าหมายว่าจะต้องไม่มีรถใช้พลังงานน้ำมันในประเทศอีก นอกจากนี้รถที่ใช้พลังงานทางเลือก เช่นพลังงานไฟฟ้า ก็ไม่ต้องจ่ายภาษีรถด้วย เพราะเป็นการใช้รถที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้รถไฟฟ้าบางคันมีราคาต่ำกว่ารถพลังงานเชื้อเพลิงถึง 500,000 บาท
6. ในประเทศเนเธอร์แลนด์มีทางข้ามเพื่อสัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่า
          อีกหนึ่งงานหลักของรัฐบาลคือ การปกป้องสัตว์ป่า ดังนั้นจึงมีทางข้ามหลายแห่ง ที่ทำสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับสัตว์ป่า เพื่อให้สัตว์ได้ข้ามถนนไปหากินได้อย่างปลอดภัย
7. เนเธอร์แลนด์ต้องปิดเรือนจำ เพราะไม่มีนักโทษ
          เป็นความพยายามของรัฐบาลดัตช์ ที่มุ่งมั่นลดลดอาชญากรรมในประเทศ ซึ่งก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากด้วย เนื่องจากไม่มีนักโทษ จึงมีเรือนจำเพียง 19 แห่ง ตั้งแต่ปี 2009 และตามรายงานล่าสุดพบว่า มีนักโทษเพียง 163 คนต่อพลเมือง 100,000 คน ซึ่งน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของอัตรานักโทษในปรระเทศอาชญากรรมสูงอย่างบราซิลเสียอีก
วิธีต่อระบบโซล่าเซลล์ง่าย ๆ
อ่านเพิ่มเติม คลิก

วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2559

แบตเตอรี่ใช้งาน 12 ปี ไม่ต้องใช้ชาร์จ(สำหรับสมาร์ทโฟน)



          นักวิทยาศาสตร์ชาวยูเครน คิดค้นแบตเตอรี่ ที่ทำให้เราไม่ต้องชาจน์ไฟแม้แต่ครั้งเดียว จนกว่าแบตเตอรี่จะหมดในอีก 12 ปีข้างหน้า !
          Vladislav Kiselev เผยต้นแบบแบตเตอรี่ในอนาคต ซึ่งโดยปกติแล้วเราต้องคอยชาจน์ไฟทุกครั้งเมื่อแบตเตอรี่ใกล้หมด แต่สำหรับแบตเตอรี่ก้อนนี้ไม่จำเป็นต้องชาจน์ไฟ เพราะมันสามารถสร้างพลังงานได้ด้วยตัวของมันเองโดย
โดยรอบใช้งานก่อนชาจน์ไฟจะอยู่ที่ 12 ปี 
ประจุไฟฟ้าภายในสามารถจ่ายไฟต่อเนื่องถึง 1 ปี 4 เดือน
ก่อนสร้างใหม่ไปได้เรื่อยๆจนครบ 12 ปี
          แบตเตอรี่ดังกล่าวไม่ได้ออกแบบมาใช้สำหรับ สมาร์ทโฟนเพียงเท่านั้น แต่ยังรองรับการใช้งานกับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ หรือกระทั่งบนรถยนตร์ก็ใช้ได้เช่นกัน

แบตเตอรี่ Deep Cycle ชนิด GEL

สำหรับระบบโซล่าเซลล์

          อันที่จริงเทคโนโลยีแบตเตอรี่ดังกล่าว ไม่ใช้เทคโนโลยีใหม่อะไร แต่เคยถูกใช้งานในวงการอุตสาหกรรม ของประเทศยูเครนมาตั้งแต่ปี 1930 ก่อนจะได้รับการปรับปรุงพัฒนาให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน โดยทีมวิจัยของ Vladislav Kiselev อีกครั้ง
แบตเตอรี่ต้นแบบ
ช่วงกำลังพัฒนา

         
ทั้งนี้โครงการดังกล่าวยังอยู่ในช่วงวิจัยและพัฒนาแต่หลังจากเปิดตัว เริ่มมีกลุ่มผู้ ลิตสมาร์ทโฟน ให้ความสนใจติดต่อขอใช้แบตเตอรี่ดังกล่าวกันบ้างแล้ว เรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่ควรค่ากับการพัฒนา ให้สามารถใช้งานได้จริงในอนาคตอันใกล้ นอกจากจะเป็นผลดีกับมนุษย์แล้ว ขยะอิเล็กทรอนิกส์ อย่างแบตเตอรี่ก็จะลดน้อยลงไป

ที่มา : odditycentral.com



วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เตรียมสร้าง "asgardia" ประเทศใหม่ บนอวกาศ



          “อิกอร์ อาชูร์เบย์ลี” นักวิทยาศาสตร์และนักธุรกิจชาวรัสเซีย ประกาศสถาปนา “แอสการ์เดีย” ประเทศใหม่ในห้วงอวกาศขึ้นเป็นครั้งแรก และเริ่มรับสมัครบุคคลเป็นพลเมืองของ “ชาติอวกาศ” ชาติแรกในประวัติศาสตร์แห่งนี้แล้วด้วย มีผู้ยื่นใบสมัครแล้วเกือบแสนคน
        “แอสการ์เดีย” ตั้งชื่อตาม “แอสการ์ด” ตำหนักของเทพเจ้าในเทพปกรณัมนอร์ส เทพนิยายในภาคพื้นยุโรปตอนเหนือ เตรียมส่งดาวเทียมดวงแรกของประเทศขึ้นสู่วงโคจรในปี 2017 และมีแผนจะจัดสร้างสถานีอวกาศขึ้นโคจรอยู่ในวงโคจรในอวกาศสำหรับเป็นที่ตั้งของประเทศ และใช้เป็นสถานที่อยู่อาศัยและทำงานของประชาชนของประเทศ แกนนำผู้ก่อตั้งชาติอวกาศแห่งนี้ประเมินว่าประชากรของประเทศจะมีราว 150 ล้านคน โดยส่วนใหญ่จะมีถิ่นพำนักอยู่บนโลก
          อาชูร์เบย์ลี ผู้นำและผู้ร่วมก่อตั้ง ระบุว่า แอสการ์เดียจะปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย เน้นให้ความสำคัญต่อการให้เสรีภาพส่วนบุคคลในการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศต่างๆ ทั้งนี้ ผู้ที่คิดว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมสามารถยื่นใบสมัครขอรับการคัดเลือกเป็นพลเมือง 100,000 คนแรกของแอสการ์เดียได้แล้วผ่านทางเว็บไซต์ของประเทศ “asgardia.space” โดยมีผู้สมัครแล้วเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ นับจนถึงวันที่ 14 ตุลาคม ยอดใบสมัครผ่านเว็บไซต์ดังกล่าวมีมากกว่า 84,000 คนแล้ว


          อาชูร์เบย์ลีกล่าวถึงหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกประชากรของแอสการ์เดียว่า ในตอนแรกจะให้สิทธิผู้ที่สามารถพัฒนาหรือลงทุนทางด้านเทคโนโลยีในห้วงอวกาศก่อน แต่จะไม่มีข้อจำกัดในด้านอื่นๆ เนื่องจากแอสการ์เดียในความคิดของผู้ก่อตั้งทั้งหลายนั้นคือภาพสะท้อนของโลกที่ไปอยู่ในห้วงอวกาศ เพียงแต่จะไม่มีเส้นเขตแดน ไม่มีพรมแดน ไม่มีข้อจำกัดทางด้านศาสนาหนึ่งศาสนาใด ไม่มีข้อจำกัดว่าต้องเป็นรัฐหนึ่งรัฐใด ที่ถือเป็นข้อจำกัดในการเป็นพลเมืองของโลก ด้วยเหตุนี้ทางแอสการ์เดียจึงต้องการที่จะพูดคุยโดยตรงกับประชาชน หรือบริษัทเอกชน มากกว่าหารือกับรัฐหนึ่งรัฐใด และต้องการประชากรที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีผลิตภาพและความก้าวหน้าสูงเป็นลำดับแรก
          เนื่องจากแอสการ์เดียยังไม่ได้เป็นประเทศอย่างเป็นทางการ ยังไม่ได้รับการรับรองสถานะความเป็นรัฐจากสหประชาชาติ ดังนั้น พลเมืองที่สมัครเข้ามายังคงจำเป็นต้องถือสัญชาติของอีกประเทศหนึ่งในโลกอยู่ด้วย จึงเหมาะต่อผู้ที่ประเทศที่ตนถือสัญชาติแต่เดิมอนุญาตให้บุคคลถือหลายสัญชาติได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย จนกว่าแอสการ์เดียจะยื่นขอรับการรับรองและได้รับการรับรองสถานะความเป็นชาติรัฐอย่างเป็นทางการจากสหประชาชาติต่อไป ซึ่งทางทีมงานโครงการแอสการ์เดียคิดว่าแอสการ์เดียจำเป็นต้องมีประชากรอย่างน้อยเป็นเรือนแสนก่อนที่จะยื่นขอรับรองอย่างเป็นทางการจากสหประชาชาติได้ แม้ว่าในเวลานี้จะมีชาติสมาชิกสหประชาชาติอย่างน้อย 14 ประเทศที่มีพลเมืองน้อยกว่า 100,000 คนก็ตาม
ทีมงานโครงการแอสการ์เดียย้ำว่า ชาติอวกาศแห่งแรกในประวัติศาสตร์นี้ก่อตั้งขึ้นเพื่อ “รับใช้มนุษยชาติ” และ “สร้างสรรค์สันติภาพ” ขึ้นในห้วงอวกาศนั่นเอง
ที่มา http://www.matichon.co.th/news/334877