วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2558

โซล่าเซลล์ ปะทะ น้ำมันโซล่า



          สายๆของวันหนึ่งผมได้รับโทรศัพท์แจ้งจาก จนท.ทหารหน่วย EOD (เก็บกู้วัตถุระเบิด)ท่านหนึ่งให้ไปตรวจสอบระบบโซล่าเซลล์ที่บ้านแห่งหนึ่ง(ทำไมหนึ่งเยอะจัง) ในจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็นพื้นที่รับผิดชอบของผมในขณะนั้น หลังได้รับรายงานว่า "ใช้น้ำมันโซล่าเติมแบตเตอรี่แทนน้ำกลั่น" ผมพิมพ์ไม่ผิดครับเพราะผมก็ทวนกับพี่ทหารอยู่ 2-3 รอบ มีคนทำอย่างนั้นจริงๆ ได้ยินอย่างนั้นถึงผมจะยุ่งยังไงก็ต้องปลีกตัวรีบไปให้ได้ จนไปถึงก็ตอนบ่ายแก่ๆ สถานที่เป็นบ้าน 2 ชั้นครับ เจ้าของบ้านเป็นตากับยายคู่หนึ่ง อายุรวมกันก็เกือบ 200ปีล่ะ จากการสอบถามคุณยายว่าจริงหรือไม่ที่เอาน้ำมันโซล่า(ดีเซล)เติมลงไปในแบตเตอรี่ ยายตอบว่าจริง เพราะน้ำในแบตเตอรี่มันลดลงมาก กลัวไฟจะไม่พอใช้ก็เลยต้องเติมน้ำมันโซล่า(เซลล์)ลงไป โถ...คุณยายเค้าเข้าใจว่าระบบโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าจากน้ำมันโซล่า(ดีเซล)ครับ 

          ไม่ต้องลุ้นครับว่าแบตเตอรี่ระเบิดหรือไม่ พอดีวันนั้นเมฆเยอะไฟเลยลงไม่แรงมาก ก็เลยปลอดภัย ไม่ระเบิดครับ รูปแบตเตอรี่ระเบิดที่ผมเอามาโชว์ข้างบนนั้นผมต้องการเตือนให้ดูแลรักษากันดีๆเท่านั้น ส่วน จนท.ทหารหน่วย EOD ที่โทรแจ้งก็เป็นลูกชายของคุณยายท่านนั้นอีกที ไม่มีเรื่องอะไรใหญ่โต สรุปว่างานนี้เลยได้ล้างแบตเตอรี่ให้ยายใหม่ครับ และหวังว่าคงไม่มีใครเอาน้ำมันโซล่าไปเติมให้ระบบโซล่าเซลล์อีกนะคร๊าบบบบ...

จบแล้วครับไปชมสินค้า ลดราคาประจำวันที่โลตัสกันต่อเลย


วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558

การดูแลระบบโซล่าเซลล์ช่วงหน้าหนาว


          วันนี้ก็ปลายเดือนกันยายนแล้วครับ เป็นช่วงปลายฝน-ต้นหนาว ซึ่งลมหนาวบ้านเราก็คงเข้ามาช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน หรืออาจจะเป็นปลายเดือนตุลาคมนี้ ยังไงก็เจอแน่ๆครับ หนาวกันแน่นอน โดยวันนี้ผมจะมาแนะนำการดูแลรักษาระบบโซล่าเซลล์ในช่วงหน้าหนาวนี้ ว่าควรระวังรักษาตรงใหนเรื่องอะไรกันบ้าง เพื่อให้ระบบผลิตไฟฟ้า ผลิตเงิน หรือผลิตงานให้เราได้เต็มที่เหมือนตอนติดใหม่ๆครับ

          มาเริ่มต้นกันเลยที่ "แผงโซล่าเซลล์" ผู้มีหน้าที่เปลี่ยนแสงเป็นไฟฟ้าให้เราใช้ หน้าหนาวนี้ในความเป็นเอกลักษณ์ของฤดูการณ์ก็คือ "หมอก" ครับ เจ้าหมอกนี่ช่วงเช้าจะเยอะจนสามารถรวมตัวกันเป็นน้ำค้างบนหลังคา ใบไม้ ยอดหญ้า และบนหน้าแผงโซล่าเซลล์ ซึ่งตรงนี้เองจะเป็นเหตุให้ฝุ่นที่ลอยอยู่ในอากาศ(ดินช่วงนี้ก็แห้งสุดๆ)มาจับบนหน้าแผงโซล่าเซลล์ได้ง่ายขึ้น โดยจับลักษณะ ดิน+น้ำ=โคลน แล้วก็จะแห้งติดช่วงสายๆ ซึ่งแน่นอนเราต้องออกแรงปีนขึ้นล้างครับจึงจะออก ตัวช่วยอย่างลมก็พัดฝุ่นออกไม่ได้ จะรอให้ฝนมาล้างก็...(อย่าหวัง) งานนี้ใครติดตั้งระบบ Solar roof top ได้ควักกระเป๋าจ้างคนมาล้างแน่นอนครับ

          "แบตเตอรี่" สำหรับระบบใครที่ไม่ใช่ระบบแบบ OnGrid ต้องมีแบตเตอรี่แน่นอน ควรเช็คน้ำกลั่นบ่อยๆนะครับ หากน้ำกลั่นลดลงจนต่ำกว่าระดับที่กำหนด(มีขีดบอกที่แบตเตอรี่) ความสามารถในการเก็บพลังงานไฟฟ้าของแบตเตอรี่ก็จะลดลงด้วย เป็นเหตุให้เรามีไฟใช้น้อยลง ส่วนใครใช้แบตเตอรี่เจลหรือแบตเตอรี่แห้ง ก็อย่าลืมเช็คการต่อสายไฟที่ขั่วแบตเตอรี่ให้แน่นอยู่เสมอนะคร๊าบบบบ...

          หากใครมี "เครื่องควบคุมการชาร์จ" ประเภทแยกออกมาต่างหากจากเครื่องแปลงไฟ อุปกรณ์นี้ไม่มีอะไรน่าห่วงมาก แต่สำหรับใครที่ใช้สายไฟชนิด VAF ที่เป็นสายขาวๆ หมวยๆ(เอ๊ย..) แข็งๆ ที่เรามักใช้เดินสายไฟในบ้านกัน บางคนเรียกว่าสายแข็ง หากใครใช้สายประเภทนี้ต่อที่ขั่วเครื่องควบคุม ควรเป็นอย่างยิ่งที่ท่านต้องเช็ค "จุดต่อสาย" ที่ตัวเครื่องควบคุมการชาร์จ เพราะมันออกแบบมาให้ใช้กับสายอ่อน หากเราใช้สายแข็ง ส่วนมากแล้วน็อตที่จุดต่อสายจะคลายตัว ทำให้สายไฟหลวม เป็นเหตุให้กระแสไฟฟ้าเดินไม่สดวกครับ...ไม่เชื่อลองไปดูสิ

          หน้าหนาวไม่ใช่ว่าจะหนาวเฉพาะคน(โดยเฉพาะคนไม่มีคู่) แต่สัตว์ทั่วๆไปมันก็หนาวเป็นเหมือนกัน ควรระวังจิ้งจกและมดเข้าไปยึด "เครื่องแปลงไฟ" เป็นศูนย์อพยพชั่วคราวเพื่อบรรเทาภัยหนาว โปรดอย่าใจดี เพราะมันมักจะเข้าไปฆ่าตัวตายข้างในโดยการใช้ตัวมันเป็นสื่อให้ไฟฟ้าลัดวงจร(เอาแล้วไง) เป็นเหตุให้ Inverter ที่เราซื้อมาหลายร้อยหลายพันบาทพังไปด้วย ...(เบิ่ดควมสิเว้า) เหตุการณ์นี้สามารถป้องกันได้โดยใช้ ลูกเหม็นหรือการบูร ครับ เอาไปแขวนหรือวางใว้ตรงที่คิดว่าจิ้งจกมันเข้าได้ ช่วยได้ดีมากๆๆๆ ส่วนการป้องกันมดนี่ลำบากมาก เพราะมันตัวเล็ก จะปิดรูระบายอากาศเครื่องแปลงเพื่อไม่ให้มดมันเข้าก็ไม่ได้ ยังไงแล้วใครมีไอเดียเจ๋งๆก็เอามาแบ่งกันรู้บ้างนะครับ ส่วนผมใช้วิธีนี้ครับ
 ด้านในกล่องใสผมใส่น้ำ ส่วนที่สายไฟใช้ผ้าชุบน้ำมันเครื่องพันใว้ครับ ฮ่าๆๆๆ..มันง่ายเกิ๊น โปรดอย่าเอาเป็นเยี่ยงอย่าง


          ป.ล (แปลว่าอะไรไม่รู้) ท้ายสุดของบทความนี้ผมขอฝากความปราถนาดีถึงทุกๆท่านว่า ถึงอากาศจะหนาวเย็นซักเพียงใดแต่ระบบโซล่าเซลล์มันไม่ได้รู้สึกเย็นเลยซักนิด จะหนาวก็คนเรานี้สิ ต้องดูแลตัวเองให้ดีๆนะครับ ถ้าหนาวมากก็อย่าลุยงานมากนัก พักผ่อนใต้ผ้าห่มหนาๆ จิบชาเขียวอุ่นๆ เคียงข้างกับคนรู้ใจ ขอให้ทุกท่านจงมีสุขภาพดีตลอดฤดูหนาวที่จะถึงคร๊าบบบบ...

วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558

ข้อดีของระบบโซล่าเซลล์



          หลายๆท่านกำลังตั้งความหวังใว้กับระบบโซล่าเซลล์ไม่ว่าจะเพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ในบ้านเองหรือเพื่อจำหน่ายให้กับการไฟฟ้า ผมก็เห็นด้วยนะ เพราะมันมีข้อดีตั้งหลายอย่าง เช่น

1. พลังงานแสงจากดวงอาทิตย์หมดยาก
          แหล่งพลังงานอื่นๆ ที่เราใช้งานอยู่ ทั้ง น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น ล้วนแต่เป็นทรัพยากรทีมีจำกัด ต่างจากดวงอาทิตย์ที่คงไม่มีใครรู้ได้หรอกว่ามันจะดับเมื่อใด(เอ่ะ..รึว่ามีคนรู้อยู่นะ)

2. เป็นแหล่งพลังงานสะอาดไร้มลพิษ
          ไฟฟ้าที่ได้จากโซล่าเซลล์ เกิดจากการเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นกระแสไฟฟ้าโดยตรง ต่างจากการผลิตไฟฟ้าอื่นๆ ที่ต้องเผาน้ำมัน เผาถ่านหิน แล้วปั่นเทอร์ไบน์ด้วยไอน้ำซึ่งก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมทั้งมลภาวะทางเสียง 

3. สร้างไฟฟ้าได้ทุกขนาด
          ตั้งแต่เล็กๆ เพื่อใช้กับเครื่องคิดเลข จนถึงโรงงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ระดับ 100 MW ขึ้นไป ซึ่งไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ก็ใช้โซล่าเซลล์ลักษณะพื้นฐานอันเดียวกัน ประสิทธิภาพเท่ากัน ต่างจากโรงงานผลิตไฟฟ้าทั้งพลังน้ำ การเผาเชื้อเพลิง พลังงานปรมาณู ประสิทธิภาพการเปลี่ยนพลังงานจะขึ้นกับขนาดของระบบ 

4. ผลิตที่ไหนใช้ที่นั่น
          ระบบไฟฟ้าปกตินั้นแหล่งผลิตไฟฟ้ากับจุดใช้งานมักอยู่คนละที่ตั้งกัน และจะต้องมีระบบทำการส่ง แต่ระบบโซล่าเซลล์จะต่างจากระบบไฟฟ้าปกติ คือ สามารถผลิตไฟฟ้าใช้บริเวณใหนก็ได้(ขอให้มีแดด) จะติดบนเกาะ ในป่า กลางทุ่งนา เชิญเลยครับ

5. ราคานับวันจะถูกลง
          ช่วงผมเข้ามาในวงการโซล่าเซลล์แรกๆ คุณเชื่อมั้ยค่าบริการติดตั้งรวมๆแล้วตก W ละประมาณ 200 บาท ผมไม่ได้คิดแพงนะ แต่ราคาอุปกรณ์ช่วงนั้นยังแพงอยู่มาก เพราะเรื่องโซล่าเซลล์ยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนไทยอยู่ แต่ ณ วันนี้ แผงโซล่าเซลล์ที่ขายกันในท้องตลาดบ้านเราตก W ละ 25-30 บาทเท่านั้นเอง ถ้ารวมติดตั้งด้วยก็ตก W ละไม่เกิน 50 บาท แล้วแต่จะตกลงราคากันเองกับผู้บริการติดตั้ง

          ตอนนี้กระแสธุรกิจ Solar Roof กำลังเป็นที่กอบโกยของผู้ประกอบการก็คือชาวบ้านเรานี่แหละครับ ลงทุนติดตั้งระบบโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้านตัวเองเพื่อผลิตไฟฟ้าขายให้กับการไฟฟ้า กินยาวๆอย่างน้อย 20 ปี (ถ้าไม่มีอุปกรณ์ใดเสียหาย) จุดคุ้มทุนเห็นพูดๆกันแค่ 6-8 ปีเท่านั้น ค่าไฟขายได้ตั้งหน่วยละเกือบ 7 บาท  โอ... รวย รวย รวย คร๊าบบ....





ข้อเสียของระบบโซล่าเซลล์


          ทุกอย่างมีดี-มีเสียเสมอครับ รับรองว่าท่านจะไม่ได้ยินเรื่องพวกนี้จากผู้ขายสินค้าหรือผู้ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ซักเท่าไหร่ เพราะเค้ามุ่งแต่จะขายให้ได้ จริงๆแล้วผมไม่อยากให้มองว่าผมมาบอกว่าระบบโซล่าโซลล์มันไม่ดีอย่างไร แต่ผมอยากให้เข้าใจว่าผมมาแนะนำข้อควรระวังมากกว่าครับ  มาว่ากันทีละอุปกรณ์เลยครับ


- แผงโซล่าเซลล์มีหลายมาตรฐาน แผงขนาด W เท่ากัน แต่ฟังก์ชั่นองค์ประกอบของแผงต่างกัน จึงทำให้ราคาต่างกัน ยกตัวอย่าง กระบวนการเข้ากรอบแผงโซล่าเซลล์ กระจกนิรภัยหน้าแผง จุดต่อสายด้านหลังแผง คุณภาพของเซลล์ ฯ เหล่านี้ล้วนเป็นตัวกำหนดคุณภาพ ราคา และอายุการใช้งานทั้งสิ้นครับ...แล้วคุณกำลังใช้แผงคุณภาพระดับใหนอยู่หละ

- ตัวเซลล์ ของแผงโซล่าเซลล์จริงๆบางมาก หากไม่มีกระจกนิรภัย มือเราไปโดนแรงนิดเดียวก็ไม่ได้ครับ


- สำหรับไอเดียใครที่ต้องการเพิ่มกำลัง W ของแผงโซล่าเซลล์โดยการใช้กระจกเงาสะท้อนแสงใส่แผงโซล่าเซลล์ ไอเดียท่านใช้ได้ แต่แผงโซล่าเซลล์อายุจะสั้นลงครับ เพราะที่ไปกระทบแผงโซล่าเซลล์มันไม่ใช่แค่แสงสว่าง แต่มันมีความร้อนด้วย(แผงโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าได้ % สูงสุดตอนที่อุณหภูมิ 25 องศา C)

- เครื่องควบคุมการชาร์จและจ่ายไฟหัวใจของมันคือระบบ Microprocesser(เขียนถูกป่าวนิ) ซึ่งเรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ควรดูที่ราคาและการแสดงผลของระบบประกอบกัน ใครซื้อของถูกๆไป แรกๆอาจใช้ได้ดี แต่นานวันไปไม่ถึงครึ่งปี อยู่ดีๆไฟไม่พอใช้เพราะเครื่องไม่ชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ หาสาเหตุไม่เจอ แนะนำให้เปลี่ยนเครื่องควบคุมการชาร์จครับ

- เครื่องควบคุมการชาร์จหากต่อขั่วแผงโซล่าเซลล์ไม่เป็นไร แต่ถ้าต่อแบตเตอรี่ผิดอาจจะพังได้ทันที ขั่วโหลดก็เหมือนกันครับ ดังนั้นระวังเรื่องขั่ว + และ - ให้มากๆ

- มดทำพัง เพราะไข่ของมันเป็นตัวนำไฟฟ้าได้ ทำให้เกิดการลัดวงจรในระบบอิเล็กทรอนิกส์

- แบตเตอรี่เฉพาะงานด้านโซล่าเซลล์ยังแพงอยู่มาก จะใช้แบตเตอรี่รถยนต์แทนก็ชาร์จเข้ายาก ต้องรอสายๆแดดแก่ๆ ดังนั้นควรวางแผนให้คุ้มค่าเงินลงทุน



- เพิ่งนึกได้ครับ วกไปที่แผงโซล่าเซลล์อีกนิดหนึ่งนะ ผมเคยเอาแผงโซล่าเซลล์จากหลายๆที่มาวางเรียงกัน ในร่ม ข้างนอกแดดจัด วางในร่มห่างจากแดดประมาณ 1 เมตร วางเรียงกันแล้วลองวัดไฟที่แผงโซล่าเซลล์แต่ละแผงผลิตได้มาเทียบกันดู ผลคือ ไม่เท่ากันครับ ถึงเข้าใจว่าทำไมแผงโซล่าเซลล์ W เท่ากัน แต่ราคาไม่เท่ากัน ตาดีได้ ตาร้ายเสีย ถ้าท่านไม่มีความรู้ทางด้านไฟฟ้า ควรเป็นอย่างยิ่งที่ควรหาช่างที่ใว้ใจได้คอยแนะนำ

- ต่อเรื่องแบตเตอรี่ หากใครใช้แบตเตอรี่แบบเปียก ก็ต้องคอยดูแลน้ำกลั่นให้ดี ลูกค้าบางคนบ่นว่าทำไมไฟไม่พอใช้แต่ก่อนไฟใช้เท่าไหร่ก็ไม่หมด พอไปเช็คให้น้ำกลั่นในแบตเตอรี่แห้งสนิทครับ เส้นผมบังภูเขาแท้ๆ เรื่องง่ายๆที่คนเรามักมองข้ามครับ


- ทีมงานผมเคยต่อเครื่องแปลงไฟเข้าแบตเตอรี่ผิดขั่ว ผลคือ แบตเตอรี่ระเบิดเลยครับ น้ำกรดกระจาย ล้างตัวแทบไม่ทัน ซึ่งไม่ค่อยจะมีเหตุการแบบนี้ ส่วนมากจะแค่ฟิวส์ที่เครื่องแปลงไฟขาด อาจเป็นเพราะเครื่องแปลงไฟตัวนี้เครื่องใหญ่ และมีไฟค้างอยู่ในเครื่องก็เป็นได้

- แบตเตอรี่ส่วนใหญ่จะเป็นแบต 12V ในระบบผลิตไฟฟ้าด้วยโซล่าเซลล์บางทีต้องใช้หลายลูกมาขนานหรืออนุกรมกัน ทำให้กระแสเพิ่มขึ้นมากตามไปอีกหลายเท่าตัวตามจำนวนแบต หากเกิดการช๊อตหรือลัดวงจะจะอันตรายมาก เหล็กก็ยังละลายได้ทันทีครับ(หลักการเดียวกันกับเครื่องเชื่อมเหล็ก)

- จิ้งจก ชอบเครื่องแปลงไฟมาก คงเป็นเพราะมันอุ่น จะปิดรูที่เครื่องแปลงไฟก็ไม่ได้เพราะต้องใช้ระบายอากาศ ระบายความร้อนของเครื่อง มดนี้ก็ชอบเข้าไปวางไข่ หาวิธีป้องกันได้เด็ดขาดยากมากครับ

- หลายครั้งที่เครื่องแปลงไฟลูกค้าเสีย ผมนำมาแกะดูปรากฎว่าจิ้งจกแห้งตายอยู่ข้างใน สภาพศพจากการชันสูติ(บึ๋ย) มีสาเหตุจากไปวางตัวพาดทางเดินกระแสไฟในระบบ Inverter ขนาดเหล็กยังละลาย แล้วขี้เจี้ยมจะไปเหลืออาร๊ายยยย..

- กรณีที่มีการลากสายไฟยาวๆนำไฟ(AC)ที่ระบบโซล่าเซลล์ผลิตได้ไปใช้ไกลๆ มีข้อเสียคือ หากสายไฟไม่ใหญ่พอ ไฟจะตก แต่เครื่องแปลงไฟไม่พังนะ จะพังก็ตอนที่ฟ้าผ่าใกล้บริเวณนั้น ได้เปลี่ยนตัวใหม่แน่นอนครับ (ยกเว้นใครมีอุปกรณ์ป้องกันนะ)

- ในมุมของผู้ให้บริการติดตั้ง มีความรู้ความสามารถแค่ใหนในการคำนวณระบบ ฝีมือการติดตั้งสวยงามลงตัวกับภูมิทัศน์หรือไม่ หลังรับเงินจากลูกค้าแล้วมีบริการหลังการขายดีแค่ใหน การรับประกันอุปกรณ์แต่ละอย่างยาวนานแค่ใหน ถ้าเจอช่างที่ทำงานเพื่องานก็ดีไปสำหรับชาวบ้าน แต่ถ้าไปเจอช่างที่ทำงานเพื่อเงินหละก็ จบกัน

- ในด้านของเจ้าของระบบหรือชาวบ้านที่รอใช้ไฟฟ้า ปัญหาใหญ่ที่สุดคือ ความอยาก คืออยากใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าโน่น นี่ เกินกำลังการผลิตของระบบโซล่าเซลล์ตนเอง ทั้งด้านจำนวนอุปกรณ์ไฟฟ้า และด้านเวลา ผมเจอบ่อยมากครับ อธิบายหลายๆรอบจึงจะเข้าใจ อีกกรณีคือต่อระบบไฟฟ้าในบ้านใช้เอง แต่ไม่มีความรู้เรื่องไฟฟ้า ระบบก็พังไปตามๆกัน(บ่นๆๆๆๆๆ)


- อันนี้เข้าใจตรงกันครับ ไฟฟ้าที่ได้มาจากแดด วันใหนแดดไม่มี วันนั้นเราต้องใช้ไฟเท่าที่จำเป็น

- ประเภทสินค้าโซล่าเซลล์สำเร็จรูปที่ด้านในมีแบตเตอรี่อยู่ด้วย คือพร้อมใช้งานได้เลย เช่น โคมไฟพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Garden Ligth จะมีกี่ยี่ห้อกันที่บอกผู้ซื้อว่า ข้างในมีแบตเตอรี่ชนิด NiMH (นิกเกล-เมทัล-ไฮไดรด์) ซึ่งการใช้งานครั้งแรกต้องชาร์จ(ด้วยแดด)ให้ได้นานที่สุด(คล้ายๆกับการใช้โทรศัพท์มือถือครั้งแรกที่ซื้อมา) ดังนั้นเมื่อเราซื้อสินค้าโซล่าเซลล์มาแล้ว เราต้องเลือกวันเริ่มใช้งานให้ดี เพราะมันมีผลกับอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ข้างในคร๊าบบบ...

เลือกชมและเช็คราคาสินค้าโซล่าเซลล์ คลิกที่นี่

- มาถึงคิวระบบ Solar roof ครับ ผมคัดเอาความเห็นของผู้รู้ ที่เค้าคุยกันในเว็บพันทิพย์มาให้อ่าน(ย้ำ...ไม่ใช่ความเห็นผมนะ) มันมีข้อมูลอะไรที่เรายังไม่รู้บ้าง ไปอ่านดู

          ท้าวความ เรื่องย่อนิดนะครับ พอดีว่ามีคนโพสให้ข้อมูลความรู้ดีๆ ของระบบ Solar roof ค่าใช้จ่าย และจุดคุ้มทุน ให้ชาวบ้านเราๆท่านๆได้รู้กัน ตามรูปด้านล่างครับ


แล้วมีความคิดเห็นตามมาดังนี้

ความคิดเห็นที่ 22

คิดผลตอบแทนมั่วมาก ขายได้ 7-8พันต่อเดือน ไม่หักต้นทุน ยังไม่ถึงเลยไหนจะค่าบำรุงรักษา การเสื่อมคุณภาพของแผงถ้าโซล่าเซลล์ดูแล้วน่าจะได้ไม่เกิน7% แต่ผมว่าได้5% เท่าแหละคุณฝากธนาคาร1แสนดอก5% เขาจ่ายให้ทุกปี 25ปี ถอนต้นคืน ไอ้ solar panels ไปถอนกับใคร มันหมดสภาพไปแล้ว


ความคิดเห็นที่ 25
ที่บอกว่าแบ่งเบาภาระการไฟฟ้า นั้นโกหกเห็นๆ น่าจะเพิ่มภาระด้วยซ้ำ
โซล่าเซลล์ เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าความมั่นคงต่ำ มีความไม่แน่นอนในการผลิตสูง
แถมต้องจ่ายเงินเพิ่มให้ผู้ผลิตอีก

การคำนวน กำลังผลิตของแผงโซล่าเซลล์ โดยมากจะคำนวน ตามที่การไฟฟ้าจ่ายให้สูงสุด คือ 14.84%
หรือ ประมาณ 730 บาท/1Kw/เดือน หรือ ประมาณ 3.56 ชั่วโมงต่อวัน

อย่างที่ จขกท. บอก ประมาณ 700 บาท/เดือน ต่อ แผง 1 kW
ถ้าติดขนาด 10kW ก็ฟันเนาะ 7,000 บาท/เดือน
เอาละลองมาดูผลตอบแทนที่แท้จริง ว่ามันถึง 20% หรือเปล่า
เอาแบบง่ายๆ สูงสุดที่จะได้รับ คือ 7,000 * 12 เดือน ก็คือ 84,000 บาท
อันนี้แบบ ไม่เสีย ไม่เสื่อม (ของจริง ไม่มีหรอกครับ แบบนี้)
ลงทุน เอาตามเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่ จขกท บอกแล้วกัน 5 แสน ยังได้แค่ 16.8%
แถมเป็นผลตอบแทนแบบไม่คืนทุน ถ้าคิดแบบหักทุน ก็เหลือ 12.8%
แต่เอาเข้าจริงๆ นี่ได้ 7% ผมก็ว่าหรูแล้ว

ผม สงสัยมากถ้ากำลังผลิตมันดี ขนาดนั้น
ทำไม ผู้ขายไม่รับประกัน กำลังการผลิต ล่ะ บอกว่าเดือนละ 700 บาท/เดือน/1kW
ผู้จำหน่าย รับประกันสัก 400 บาท/เดือน/1kW ก็พอ ยังเห็นมีที่ไหนทำ
หรือแม้แต่เช่าหลังคาบ้าน ทำก็ยังไม่เห็นทำกันเลย

ว่าด้วย เรื่องฤดูกาลประเทศไทย
- ฤดูร้อน อากาศร้อน ประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์จะลดต่ำลง เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
- ฤดูฝน ฝนตก ฟ้าปิดบ่อย แน่นอนส่งผลต่อการผลิต
- ฤดูหนาว ดีหน่อยอุณหภูมิไม่สูง ผลิตได้เต็มที่  แต่มัน 4 เดือนเท่านั้นจ๊ะ

ถ้าคำนวนตาม ฤดูกาล เขาว่าได้เดือนละ 7000 บาท ที่ 10kW
ฤดูร้อน ให้สัก 80% 4 เดือน จะได้ 7000*4*80% = 22,400 บาท
ฤดูฝน ให้ 50% 4 เดือน 7000*4*50% = 14,000 บาท
ฤดูหนาวให้ 100% 4 เดือน 7000*4*100% = 28,000 บาท
รวม 70,000 บาท/ปี ถ้าลงทุน 5 แสน จะได้ผลตอบแทน 14%
ถ้าหักทุนไปอีก ก็เหลือ 10%
อันนี้อย่างมาก ผมให้ 5% ก็หรูแล้ว
คิดไปคิดมา ฝากธนาคารดีกว่าไหม ทุนไม่หายด้วย

ถ้าที่ว่ามาผมกล่าวไม่ถูกต้อง

จขกท หรือ ผู้ผลิต หรือ ผู้จำหน่าย
เอาหลักฐาน Data logger การผลิต มาดูเลยว่าได้เท่าไร ในแต่ละวัน แต่ละฤดู
จขกท. บอกมาติดมา 7 ปีแล้ว มีบันทึกไหมว่า ได้เท่าไร ในแต่ละวัน เอามาชม

ความคิดเห็นที่ 33
"การไฟฟ้ารับซื้อที่ราคา 6.85 ไม่เกินค่า Capacity factor 14.84%
แต่การไฟฟ้าจะรับซื้อที่ราคา 6.85 บาท จำนวน 12,999 หน่วยต่อปี  (10*365*24*14.84%)"

"ติดที่ 10 Kw น่าจะผลิตไฟได้ประมาณ  (10 Kw * 4.5 ชม.ต่อวัน * 365 วัน) = 16425 หน่วยต่อปี"
"ที่เหลือ ให้ที่ 3 บาท"

เพราะฉะนั้น จะเป็นรายได้
(6.85 * 12,999)  + (3424 * 3)  = 99,315.15  บาท ต่อปี    ;  ไม่คิดอัตราการสูญเสียจากการผลิต

ถ้าต้องเสียภาษี 10%  จะเหลือรายได้  : 99,315.15  *0.9 = 89,383.635   บาทต่อปี
ถ้าลงทุน 7 แสน    จะคืนทุนใน 700,000/89383.635 =  7.8 ปี       ; ไม่คิดค่าเสื่อมอุปกรณ์ และค่าบำรุงรักษา


นั่นคือ เงินจะจม ไป  7.8 ปี  ( 8 ปี )  ผลตอบแทนคือ แผงโซล่าเซลล์มือสอง ที่ผ่านการใช้งานมา 8 ปี

ถ้าลงทุน 10 ปี ผลตอบแทนคือ   (89,383.635  *2)  + แผงมือสองอายุ 10 ปี    =  178,767.27+ แผงมือสองอายุ 10 ปี
คิดเป็น   25%<ต่อสิบปี> + [แผงมือสองอายุ 10 ปี]

ตัวแปรอยู่ที่  แผงมือสองอายุ 10 ปี   จะเหลือมูลค่าเท่าไหร่??  (ผมไม่รู้) แทงก๊ั๊กมั่วๆ จากเสื่อมสภาพ และเทคโนโรยีใหม่ๆ
ให้ราคาเหลือ 30%    = 700,000*0.3 = 210,000 บาท

หลังจากผ่านไปสิบปี  เมื่อหักเงินลงทุน7 แสนบาทแล้ว จะได้เงินมาทั้งสิ้น =   178,767.27 +210,000 บาท  =388,767.27 บาท

คิดเป็น 55.53 % ในสิบปี  เป็นผลตอบแทน
แบบทบต้น  x^10 = 1.5553  -->  x = 1.045  -->  4.5% ต่อปี
หรือถ้าคิดแบบหารเฉลี่ยเท่าๆกัน   5.553% ต่อปี

โดยต้องแบกรับความเสี่ยง
1.เรื่องค่าบำรุงรักษา
2.ความไม่แน่นอนองแสงแดด
3.ค่าเสียโอกาสเอาเงินไปลงทุนอย่างอื่น
4.เงินเฟ้อ  (ส่วนตัวชอบใช้อัตราเงินเฟ้อราคาข้าวแกงเป็นฐาน  จะประมาณ 5-7% ต่อปี)
5.หากทุกคนติดโซล่ารูฟ  สิ่งที่เกิดขึ้นคือ  ต้นทุนค่าไฟจะแพงขึ้น นั่นคือ ค่าไฟตามบ้านจะสูงขึ้นโดยอัตโนมัติ
(แต่ได้การรักษาธรรมชาติมาทดแทน)   note : ยังไงต้นทุนจากถ่านหินก็จะต่ำกว่ามาก*** แน่นอน

ความคุ้มค่า
1.ไม่คุ้มค่าอัตราเงินเฟ้อราคาข้าวแกง
2.ลงทุนหุ้นพื้นฐาน 10 ปี คุ้มกว่าเยอะนะผมว่า   (ฝากกองทุนก็ยังดี)
3.ฝากเอาไว้เป็นสภาพคล่องยังคุ้มกว่า  ; สำหรับคนทั่วไปที่ไม่ได้มีเงินเหลือเยอะแยะอะไร
4.ได้การรักษาธรรมชาติมาแทน

สรุป
เป็นเทคโนโลยีที่ดี   แต่ยังไม่ถึงเวลาที่นำมาใช้จริง   ยังต้องการการพัฒนาเรื่อง ราคาขายต่อประสิทธิภาพ  อีกเยอะพอสมควร
การนำเอาเทคโนโรยีที่ไม่พร้อม   มารีบใช้งาน  แม้ว่าเทคโนโรยีนั้นจะดีมาก ก็จะมีแต่ผลเสียครับ

note  : เท่าที่ได้อ่านข่าวงานวิจัย เห็นว่าในอนาคต น่าจะผลิตใช้เทคโนโลยีนี้ได้ในประสิทธิภาพที่ดีกว่านี้มาก   รวมไปถึงการติดตั้งและความสวยงามด้วย    จะให้ติดตั้ง คงต้องรอทุกอย่างพร้อมกว่านี้




- (พอดีกว่าครับเดี๋ยวผมโดน คสช.เรียกเข้าพบ)








การบำรุงรักษาระบบโซล่าเซลล์


-  การดูแลแผงโซล่าเซลล์ เริ่มตั้งแต่แนะนำให้ผู้ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ให้ติดบริเวณที่ปลอดภัยจากยานพาหนะ สัตว์เลี้ยง เด็ก(หรือผู้ใหญ่เกเร) เพื่อป้องกันอุบัติเหตุต่างๆ และหลังการติดตั้งต้องคอยตรวจสภาพหน้าแผงส่วนที่รับแสงแดดต้องสอาดอยู่เสมอ หากมีฝุ่นหรือมูลนกเลอะสกปรกมากต้องทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่าแล้วอาจตามด้วยผลิตภัณฑ์เช็ดกระจกให้ใสสะอาดอยู่ ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดชนิดอื่น เช่น น้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก เป็นต้น

เลือกชมสินค้าพลังงานแสงอาทิตย์

- เครื่องควบคุมการชาร์จ ระวังน้ำ มด จิ้งจก ระวังการต่อกระแสไฟเกิน และฟ้าผ่า

- เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า(Inverter) ระวังให้มากช่วงหน้าฝนเรื่องฟ้าผ่า มดก็ชอบเข้าไปทำรัง วางไข่ในหน้าหนาวเพราะมันอุ่น จิ้งจกชอบมากเช่นกันในหน้าหนาว ระวังน้ำกระเด็นใส่ช่วงหน้าฝน สำคัญที่สุด อย่าใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเกินกำลังของ Inverter และระวังการลัดวงจร(ช็อต)ของระบบไฟฟ้าในบ้าน


- แบตเตอรี่หากไม่ไช่ชนิดแบตเตอรรี่แห้งให้หมั่นดูแลน้ำกลั่น ระวังโลหะที่อาจจะไปแตะขั่วแบตเตอรี่ทั้งสองเข้าหากัน ระวังอย่าใช้กำลังไฟชาร์จแรงเกินไป(ถ้ามีเครื่องควบคุมไม่ต้องห่วงครับ) อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ขึ้นอยู่กับชนิดของแบตเตอรี่ที่ท่านใช้ ถ้าใช้แบตเตอรี่รถยนต์ ใช้มา 2 ปีแนะนำให้เปลี่ยนครับ ถ้าใช้แบต Deep Cycle ใช้ 5 ปีเปลี่ยนครั้ง(กรณีรักษาดี) แบตเตอรี่ที่เป็น Jel ใช้ไป 20 ปีไฟก็ยังแรงดี(ลูกละหมื่น Up)

- สายไฟในระบบควรเป็นสายที่มีฉนวนหุ้ม 2 ชั้น เช่น VCT , VHF และควรร้อยเข้าไปในท่อเดินสายไฟ ท่อเป็นโลหะได้ยิ่งดี จะได้ป้องกันหนูแทะ หรืออันตรายจากอุบัติเหตุต่างๆ


Tip. 
          ทุกครั้งที่ฟ้าผ่าจะเกิดสนามแม่เหล็กความเข้มสูงมากบริเวณนั้นจนทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าสูงมากขึ้น(ชั่วขณะ)ในสายไฟของระบบโซล่าเซลล์ แม้จะไม่ได้ผ่าตรงๆ  ลักษณะเช่นนี้จะทำให้อุปกรณ์หลักในระบบเช่น Inverter , เครื่องควบคุมการชาร์จ (Solar Charge Controller) เสียหายได้  จากประสบการณ์แล้วส่วนใหญ่ Inverter จะเสียทันทีครับ ส่วน Solar Charge Controller ถ้าฟ้าไม่ผ่าใกล้มากๆ ก็ไม่เป็นไร ดังนั้นจึงขอแจ้งวิธีการป้องกันแบบง่ายๆครับ คือ ช่วงฝนตกฟ้าคะนองให้ถอดปลั๊กไฟออกจากตัว Inverter ครับงดใช้ไฟชั่วคราว ส่วน Inverter คุณภาพดีๆ ราคาแพงๆ นั้น เค้าจะมีระบบป้องกันฟ้าผ่าในตัวอยู่แล้วก็ไม่ต้องห่วงครับ ดังนั้นถ้า Inverter ใครราคาไม่ถึงแสน ก็น่าจะป้องกันใว้หน่อยนะครับ ส่วนใครจะลองเสี่ยงดวงกับฟ้า หรือ งดใช้ไฟฟ้ายามฟ้าคะนองไม่ได้จริงๆ ก็ดวงใครดวงมันนะจ๊ะ..

อุปกรณ์หลักในระบบโซล่าเซลล์

 1. แผงโซล่าเซลล์ หรือเซลล์แสงอาทิตย์ ทุกประเภทที่ผลิตออกมามีหน้าที่เดียวกันคือตรวจจับพลังงานแสงทุกๆแสง ทุกแหล่งกำเหนิดแสง ไม่จำกัดแค่แสงจากดวงอาทิตย์ แล้วเปลี่ยนแสงที่จับได้เป็นพลังงานไฟฟ้า


 2. เครื่องควบคุมการชาร์จและจ่ายไฟ(DC) อุปกรณ์ที่หลายคนมองข้าม แม้แต่ผมก็เคยไม่ให้ค่ามันตอนที่มีเวลาควบคุมการชาร์จและดึงไฟไปใช้เองด้วยมือ หน้าที่ของมันก็เหมือนกับชื่อนั่นแหละครับ แต่มันมีฟังก์ชั่นเพิ่มความสดวกสบายให้เรามากกว่าคือสามารถตั้งเวลาได้ด้วย โดยใช้หลักการตรวจจับแสงเป็นหลัก คือเริ่มนับ 1 ตอนที่ตรวจพบแสง(สว่าง)หรือไม่มีแสง(มืด) แล้วทำงานไปอีกกี่ชั่วโมงตามที่เราโปรแกรมใว้ คือเครื่องมันไม่สนใจครับว่าตอนนี้นาฬิกาของมนุษย์โลกกี่โมงแล้วหนอ (ประมาณนี้)


 3. เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า เรียกให้เท่ห์ๆหน่อยว่าเครื่องอินเวอเตอร์(Inverter) ก็อุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านของเรามันใช้ไฟฟ้าประเภทกระแสสลับนี่นา(AC) แต่ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มันผลิตไฟฟ้าเป็นกระแสตรง(DC)ครับ จึงจำเป็นต้องแปลงครับ ในส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ไฟ DC อยู่แล้วเช่น หลอดไฟ LED 12VDC , มอเตอร์ 12-24 VDC ก็อย่าเอามาต่อผ่านตัวนี้นะครับ พังนะครับ สามารถเอาอุปกรณ์ไฟฟ้า DC ดังกล่าวไปต่อที่เครื่องควบคุมหรือที่ขั่วแบตเตอรี่โดยตรงได้เลย ระวังนะ มันมีขั่วด้วย ต่อให้ตรงขั้วด้วยนะครับ


  4. แบตเตอรี่ ใว้ใช้เก็บพลังงานไฟฟ้า(DC) ที่ระบบโซล่าเซลล์ผลิตได้ใว้รอเอาไปใช้งาน ใช้สำหรับระบบโซล่าเซลล์ประเภท Off Grid เท่านั้น ส่วนประเภท On Grid นั้นแบตเตอรี่ไม่มีความจำเป็นใดๆ เพราะไฟฟ้าที่แผงโซล่าเซลล์ผลิตได้จะถูกแปลงโดย Inverter เข้าสู่ระบบของการไฟฟ้าทันที





วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2558

ลักษณะการนำโซล่าเซลล์ไปใช้งาน

        
          โซล่าเซลล์ หน้าที่ของมันถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือ อุปกรณ์ที่มีหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสง(อาทิตย)ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า หรือเรียกอีกอย่างว่าอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ก็ได้ หรือถ้าจะเรียกให้กว้างๆออกมาหน่อยก็อาจเรียกว่า อุปกรณ์ตรวจจับแสงก็ได้ครับ

           จากคุณสมบัติและหน้าที่ของมันมนุษย์เราก็เลยเอามาดัดแปลงใช้งานได้หลากหลายมากครับ แต่หลักๆที่สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภทดังนี้


 ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบ Off Gride หรือ Stand Alone System ผมไม่รู้ว่าจะเรียกชื่อระบบเป็นภาษาบ้านเราว่ายังไงดี เอาเป็นว่าชื่อระบบ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับใครล่ะกันครับ ลักษณะการออกแบบระบบคือผลิตไฟฟ้าใช้เฉพาะจุด หรือเฉพาะพื้นที่ ไม่มีการต่อเชื่อมกับแหล่งพลังงานอื่น ยกตัวอย่างเช่นการผลิตไฟฟ้าสำหรับใช้ในบ้านหรือสถานที่ที่อยู่ห่างไกลไฟฟ้าปกติ การออกแบบใช้งานบนดาวเทียม ยานอาวกาศ เป็นต้น


 ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบ On Gride เป็นระบบที่ผลิตไฟฟ้าได้แล้วนำไปต่อร่วมกันกับไฟฟ้าปกติ(จากการไฟฟ้า)ระบบนี้จะทำงานได้ต้องอาศัยระบบไฟฟ้าปกติมากระตุ้นจึงจะทำงานได้ จุดประสงหลักๆคือลดค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายให้กับการไฟฟ้าหรืออาจถึงขนาดผลิตไฟฟ้าเพื่อขายให้การไฟฟ้า(Solar Roof Top)เลยก็ได้ครับ ระบบนี้กระแสตอบรับแรงมากตั้งแต่ปลายปี 2554 จนถึงปัจจุบัน(2558) ก็ยังมีผู้สนใจผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขายให้การไฟฟ้าอยู่ตลอด ผู้ประกอบการก็มากขึ้นตามไปด้วย ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่กระตุ้นเศรษฐกิจไทยอยู่ไม่ใช่น้อย


 ผลิตภัณฑ์โซล่าเซลล์สำเร็จรูป มันคือไอเดียของเหล่าวิศวกรทั่วโลกที่จะออกแบบวัสดุ อุปกรณ์ ของใช้ หรือแม้แต่ของเล่น มาเพื่ออำนวยความสดวกหรือเพื่อความเพลิดเพลินให้กับมนุษย์ มันมีเยอะมากมายหลายชนิดเกินกว่าที่ผมจะเอามาพูดได้หมดครับ แต่ถ้าจะเอาประโยชน์ด้านการใช้งานหน่อยก็เช่น โคมไฟพลังงานแสงอาทิตย์ สปอร์ตไลท์โซล่าเซลล์ Solar Garden Light โคมไฟหัวเสาโซล่าเซลล์ น้ำพุพลังงานแสงอาทิตย์ ชุดผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบสำเร็จรูปเคลื่อนย้ายสดวก ฯลฯ เป็นต้น



ประเภทของโซล่าเซลล์



         1. กลุ่ม เซลล์แสงอาทิตย์หรือโซล่าเซลล์ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำประเภทซิลิคอน จะแบ่งตามลักษณะของผลึกที่เกิดขึ้น คือ แบบที่เป็น รูปผลึก ( Crystal ) และแบบที่ไม่เป็นรูปผลึก (Amorphous) แบบที่เป็นรูปผลึก จะแบ่งออกเป็น2 ชนิด คือ ชนิดผลึกเดี่ยวซิลิคอน ( Single Crystalline Silicon Solar Cell) และ ชนิดผลึกรวมซิลิคอน ( Poly Crystalline Silicon Solar Cell) แบบที่ไม่เป็นรูปผลึก คือ ชนิดฟิล์มบางอะมอร์ฟัสซิลิคอน ( Amorphous Silicon Solar Cell)


          2. กลุ่มเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากสารประกอบที่ไม่ใช่ซิลิคอน ซึ่งประเภทนี้ จะเป็นแผงโซล่าเซลล์ที่มีประสิทธิภาพสูงถึง 25% ขึ้นไป แต่มีราคาสูงมาก ไม่นิยมนำมาใช้บนพื้นโลก จึงใช้งานสำหรับดาวเทียมและระบบรวมแสงเป็นส่วนใหญ่ แต่การพัฒนาขบวนการผลิตสมัยใหม่จะทำให้มีราคาถูกลง และนำมาใช้มากขึ้นในอนาคต ( ปัจจุบันนำมาใช้เพียง 7 % ของปริมาณที่มีใช้ทั้งหมด )


Tip แผงโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าจากแสงของดวงอาทิตย์ ไม่ใช่จากความร้อนของแสงอาทิตย์ จะมีประสิทธิภาพที่สุดที่อุณภูมิ 25 องศา(C) และจะลดลงประมาณ 0.5 % ทุก 1 องศาที่เพิ่มขึ้น

โซล่าเซลล์เกิดขึ้นเมื่อ



          เซลล์แสงอาทิตย์หรือโซล่าเซลล์ ถูกสร้างขึ้นมาครั้งแรกในปี ค.ศ. 1954 (พ.ศ. 2497) โดย แชปปิน (Chapin) ฟูลเลอร์ (Fuller) และเพียสัน (Pearson) แห่งเบลล์เทลเลโฟน (Bell Telephon) โดยทั้ง 3 ท่านนี้ได้ค้นพบเทคโนโลยีการสร้างรอยต่อ พี-เอ็น (P-N) แบบใหม่จากโครงสร้างของสารกึ่งตัวนำ โดยวิธีการแพร่สารเข้าไปในผลึกของสารกึ่งตัวนำซิลิกอน จนได้เซลล์แสงอาทิตย์อันแรกของโลก ซึ่งมีประสิทธิภาพเพียง 6% ซึ่งปัจจุบันนี้เซลล์แสงอาทิตย์ได้ถูกพัฒนาขึ้นจนมีประสิทธิภาพสูงกว่า 15% แล้ว ในระยะแรกโซล่าเซลล์ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับโครงการด้านอวกาศ ดาวเทียมหรือยานอวกาศที่ส่งจากพื้นโลกไปโคจรในอวกาศ ก็ใช้แผงโซล่าเซลล์เป็นแหล่งกำเนิดพลังไฟฟ้า ต่อมาจึงได้มีการนำเอาแผง Solar Cell มาใช้บนพื้นโลกเช่นในปัจจุบันนี้ เซลล์แสงอาทิตย์ในยุคแรกๆ ส่วนใหญ่จะมีสีเทาดำ แต่ในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาให้เซลล์มีสีต่างๆ กันไป เช่น แดง น้ำเงิน เขียว ทอง เป็นต้น เพื่อความสวยงาม


โซล่าเซลล์คืออะไร

โซล่าเซลล์



โซล่าเซลล์ คืออะไร

           เซลล์แสงอาทิตย์ หรือ โซล่าเซลล์ (Solar Cell) หรือ เซลล์สุริยะ หรือ เซลล์โฟโตโวลตาอิก (Photovoltaic cell) เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำซึ่งทำหน้าที่แปลงพลังงานแสงต่างๆเป็นพลังงานไฟฟ้า(กระแสตรง) โดยปรากฏการณ์โฟโตโวลตาอิก ก็คือ คุณสมบัติของสารกึ่งตัวนำเช่น ค่าความต้านทาน แรงดัน และกระแส จะเปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณของแสงที่มากระทบโดยไม่ต้องอาศัยแหล่งจ่ายไฟภายนอก และเมื่อต่อโหลด(เครื่องใช้ไฟฟ้า DC)ให้ จะทำให้เกิดกระแสไหลผ่านโหลดนั้นได้(เครื่องใช้ไฟฟ้าทำงาน)

          คำว่า "Photovoltaic" มาจากภาษากรีก φῶς ( Phos ) หมายถึง "แสง" และคำว่า "โวลต์" ซึ่งเป็นหน่วยของความต่างศักด์ของไฟฟ้า, คำว่าโวลต์มาจากนามสกุลของนักฟิสิกส์ชาวอิตาเลียนชื่อ อเลสซานโดร Volta ซึ่งเป็นนักประดิษฐ์แบตเตอรี่ คำว่า "Photovoltaic" ถูกใช้ใน ภาษาอังกฤษตั้งแต่ปี ค.ศ.1849                            
         โฟโตโวลตาอิกเป็นสาขาของเทคโนโลยีและการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้โซล่าเซลล์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสง แม้ว่ามันมักจะถูกนำมาใช้เฉพาะเพื่ออ้างถึงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ก็ตาม แต่โซล่าเซลล์นั้นสามารถที่จะทำงานได้แม้ว่าแสงนั้นจะไม่ใช่มาจากดวงอาทิตย์ (เช่นแสงตะเกียงหรือไฟเทียม ฯลฯ) นั่นคือ เราไม่ได้ใช้โซล่าเซลล์เฉพาะผลิตไฟฟ้าเท้านั้น เรายังใช้เซลล์เป็นตัวตรวจจับแสง (photodetector) เช่น ตัวตรวจจับแสงอินฟราเรด แสงไฟต่างๆหรือรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าอื่นๆที่อยู่ในบริเวณที่ตรวจจับได้ หรือใช้วัดความเข้มของแสง เป็นต้น
การทำงานของโซล่าเซลล์หรือ photovoltaic (PV) cell ต้องมีคุณสมบัติพื้นฐาน 3 อย่างดังนี้
  • การดูดซึมของแสงเพื่อสร้างคู่อิเล็กตรอน-โฮล ซึ่งโฮลนั้นถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆมันก็คือขั่ว + และอิเล็กตรอนก็คือขั่ว - นั่นเอง
  • การแยกอิเล็กตรอนและโฮลออกจากกัน
  • การจำกัดเส้นทางเดินหรือวงจรของโฮลและอิเล็ตรอน