วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2559

แบตเตอรี่ใช้งาน 12 ปี ไม่ต้องใช้ชาร์จ(สำหรับสมาร์ทโฟน)



          นักวิทยาศาสตร์ชาวยูเครน คิดค้นแบตเตอรี่ ที่ทำให้เราไม่ต้องชาจน์ไฟแม้แต่ครั้งเดียว จนกว่าแบตเตอรี่จะหมดในอีก 12 ปีข้างหน้า !
          Vladislav Kiselev เผยต้นแบบแบตเตอรี่ในอนาคต ซึ่งโดยปกติแล้วเราต้องคอยชาจน์ไฟทุกครั้งเมื่อแบตเตอรี่ใกล้หมด แต่สำหรับแบตเตอรี่ก้อนนี้ไม่จำเป็นต้องชาจน์ไฟ เพราะมันสามารถสร้างพลังงานได้ด้วยตัวของมันเองโดย
โดยรอบใช้งานก่อนชาจน์ไฟจะอยู่ที่ 12 ปี 
ประจุไฟฟ้าภายในสามารถจ่ายไฟต่อเนื่องถึง 1 ปี 4 เดือน
ก่อนสร้างใหม่ไปได้เรื่อยๆจนครบ 12 ปี
          แบตเตอรี่ดังกล่าวไม่ได้ออกแบบมาใช้สำหรับ สมาร์ทโฟนเพียงเท่านั้น แต่ยังรองรับการใช้งานกับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ หรือกระทั่งบนรถยนตร์ก็ใช้ได้เช่นกัน

แบตเตอรี่ Deep Cycle ชนิด GEL

สำหรับระบบโซล่าเซลล์

          อันที่จริงเทคโนโลยีแบตเตอรี่ดังกล่าว ไม่ใช้เทคโนโลยีใหม่อะไร แต่เคยถูกใช้งานในวงการอุตสาหกรรม ของประเทศยูเครนมาตั้งแต่ปี 1930 ก่อนจะได้รับการปรับปรุงพัฒนาให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน โดยทีมวิจัยของ Vladislav Kiselev อีกครั้ง
แบตเตอรี่ต้นแบบ
ช่วงกำลังพัฒนา

         
ทั้งนี้โครงการดังกล่าวยังอยู่ในช่วงวิจัยและพัฒนาแต่หลังจากเปิดตัว เริ่มมีกลุ่มผู้ ลิตสมาร์ทโฟน ให้ความสนใจติดต่อขอใช้แบตเตอรี่ดังกล่าวกันบ้างแล้ว เรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่ควรค่ากับการพัฒนา ให้สามารถใช้งานได้จริงในอนาคตอันใกล้ นอกจากจะเป็นผลดีกับมนุษย์แล้ว ขยะอิเล็กทรอนิกส์ อย่างแบตเตอรี่ก็จะลดน้อยลงไป

ที่มา : odditycentral.com



วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เตรียมสร้าง "asgardia" ประเทศใหม่ บนอวกาศ



          “อิกอร์ อาชูร์เบย์ลี” นักวิทยาศาสตร์และนักธุรกิจชาวรัสเซีย ประกาศสถาปนา “แอสการ์เดีย” ประเทศใหม่ในห้วงอวกาศขึ้นเป็นครั้งแรก และเริ่มรับสมัครบุคคลเป็นพลเมืองของ “ชาติอวกาศ” ชาติแรกในประวัติศาสตร์แห่งนี้แล้วด้วย มีผู้ยื่นใบสมัครแล้วเกือบแสนคน
        “แอสการ์เดีย” ตั้งชื่อตาม “แอสการ์ด” ตำหนักของเทพเจ้าในเทพปกรณัมนอร์ส เทพนิยายในภาคพื้นยุโรปตอนเหนือ เตรียมส่งดาวเทียมดวงแรกของประเทศขึ้นสู่วงโคจรในปี 2017 และมีแผนจะจัดสร้างสถานีอวกาศขึ้นโคจรอยู่ในวงโคจรในอวกาศสำหรับเป็นที่ตั้งของประเทศ และใช้เป็นสถานที่อยู่อาศัยและทำงานของประชาชนของประเทศ แกนนำผู้ก่อตั้งชาติอวกาศแห่งนี้ประเมินว่าประชากรของประเทศจะมีราว 150 ล้านคน โดยส่วนใหญ่จะมีถิ่นพำนักอยู่บนโลก
          อาชูร์เบย์ลี ผู้นำและผู้ร่วมก่อตั้ง ระบุว่า แอสการ์เดียจะปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย เน้นให้ความสำคัญต่อการให้เสรีภาพส่วนบุคคลในการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศต่างๆ ทั้งนี้ ผู้ที่คิดว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมสามารถยื่นใบสมัครขอรับการคัดเลือกเป็นพลเมือง 100,000 คนแรกของแอสการ์เดียได้แล้วผ่านทางเว็บไซต์ของประเทศ “asgardia.space” โดยมีผู้สมัครแล้วเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ นับจนถึงวันที่ 14 ตุลาคม ยอดใบสมัครผ่านเว็บไซต์ดังกล่าวมีมากกว่า 84,000 คนแล้ว


          อาชูร์เบย์ลีกล่าวถึงหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกประชากรของแอสการ์เดียว่า ในตอนแรกจะให้สิทธิผู้ที่สามารถพัฒนาหรือลงทุนทางด้านเทคโนโลยีในห้วงอวกาศก่อน แต่จะไม่มีข้อจำกัดในด้านอื่นๆ เนื่องจากแอสการ์เดียในความคิดของผู้ก่อตั้งทั้งหลายนั้นคือภาพสะท้อนของโลกที่ไปอยู่ในห้วงอวกาศ เพียงแต่จะไม่มีเส้นเขตแดน ไม่มีพรมแดน ไม่มีข้อจำกัดทางด้านศาสนาหนึ่งศาสนาใด ไม่มีข้อจำกัดว่าต้องเป็นรัฐหนึ่งรัฐใด ที่ถือเป็นข้อจำกัดในการเป็นพลเมืองของโลก ด้วยเหตุนี้ทางแอสการ์เดียจึงต้องการที่จะพูดคุยโดยตรงกับประชาชน หรือบริษัทเอกชน มากกว่าหารือกับรัฐหนึ่งรัฐใด และต้องการประชากรที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีผลิตภาพและความก้าวหน้าสูงเป็นลำดับแรก
          เนื่องจากแอสการ์เดียยังไม่ได้เป็นประเทศอย่างเป็นทางการ ยังไม่ได้รับการรับรองสถานะความเป็นรัฐจากสหประชาชาติ ดังนั้น พลเมืองที่สมัครเข้ามายังคงจำเป็นต้องถือสัญชาติของอีกประเทศหนึ่งในโลกอยู่ด้วย จึงเหมาะต่อผู้ที่ประเทศที่ตนถือสัญชาติแต่เดิมอนุญาตให้บุคคลถือหลายสัญชาติได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย จนกว่าแอสการ์เดียจะยื่นขอรับการรับรองและได้รับการรับรองสถานะความเป็นชาติรัฐอย่างเป็นทางการจากสหประชาชาติต่อไป ซึ่งทางทีมงานโครงการแอสการ์เดียคิดว่าแอสการ์เดียจำเป็นต้องมีประชากรอย่างน้อยเป็นเรือนแสนก่อนที่จะยื่นขอรับรองอย่างเป็นทางการจากสหประชาชาติได้ แม้ว่าในเวลานี้จะมีชาติสมาชิกสหประชาชาติอย่างน้อย 14 ประเทศที่มีพลเมืองน้อยกว่า 100,000 คนก็ตาม
ทีมงานโครงการแอสการ์เดียย้ำว่า ชาติอวกาศแห่งแรกในประวัติศาสตร์นี้ก่อตั้งขึ้นเพื่อ “รับใช้มนุษยชาติ” และ “สร้างสรรค์สันติภาพ” ขึ้นในห้วงอวกาศนั่นเอง
ที่มา http://www.matichon.co.th/news/334877

วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559

รถไม่มีล้อ จาก Volkswagen

รถไร้ล้อ

            ในขณะที่ Google กำลังพยายามพารถยนต์ไร้คนขับไปสาธิตตามหัวเมืองต่างๆ โฟล์กสวาเกน (Volkswagen) ในจีนเผยโปรเจ็กต์สุดล้ำด้วย HoverCar นตกรรม รถยนต์ไร้ล้อที่ขับเคลื่อนด้วยการลอยตัวเหนือพื้นดิน ซึ่งหากคุณูผู้อ่านเว็บไซต์ARIP ยังจดจำภาพยนตร์ Sci-fi ในอดีตที่เราเคยมองว่าโม้สุดๆ แต่…บางทีเราอาจจะได้เห็นของจริงในอนาคตอันใกล้นี้ก็ได้
          โฟล์กสวาเกน(Volkswagen) ได้นำเสนอไอเดียสุดล้ำของยนตกรรมภายใต้โครงการ People’s Car Project ในประเทศจีน โดยเป็นแนวคิดที่แม้ชมแล้วจะอดทำให้นึกถึงภาพทีเคยเห็นในภาพยนตร์ไซไฟยอดนิยมอย่าง Back to the future ซึ่งในโครงการนี้ทางโฟล์กสวาเกน(Volkswagen) ได้ออกแบบรถยนต์ 3 รุ่น (จากผู้เข้าร่วมส่งผลงานประมาณ 119,000 ราย) พร้อมทั้งทำคอนเซปต์ออกมาในรูปแบบวิดีโอ ทั้งนี้รถยนต์ในความคิดฝันของโฟล์กสวาเกน(Volkswagen)จะตอบโจทย์เรื่องของการรักษ์โลกด้วยยนตรกรรมลอยตัว และไร้มลพิษ

         
(Hover Car) สามารถยกตัวลอยขึ้นจากพื้น และเคลื่อนที่ได้อย่างคล่องแคล่วไร้มลพิษทั้งทางเสียง และอากาศ ซึ่งการที่จะทำเช่นนี้ได้ทีมออกแบบกล่าวว่า ถนนที่ใช้วิ่งจะต้องมีการปล่อยสนามแม่เหล็กออกมา นอกจากรถลอยตัวไร้มลพิษจะดีต่อธรรมชาติแล้ว ยังไม่มีปัญหาเรื่องยางแบนด้วย แถมยังขับง่าย นุ่มนวล ไร้การกระแทกเนื่องจากถนนขรุขะ หรือ ลื่นไถลเนื่องจากน้ำเจิ่งนอง บังคับด้วยจอยสติ๊ก (เหมือนในเกมส์เลย) แต่ถ้าจะว่ากันจริงๆ แล้วเอาไอเดียรถยนต์ไร้คนขับของ Google มาเพิ่มเข้าไปคงไฮโซฯ มากนะเนี่ย


       
          แต่ตอนนี้เอาเป็นว่าไปดูไอเดียฝันนๆ ของโฟล์กสวาเกน (Volkswagen) ผ่านคลิปข้างล่างนี้ดีกว่า ทั้งนี้มีการทำคลิปวีดิโออัพโหลดลงเว็บไซต์ยูทูป แสดงการเคลื่อนที่ของรถโฮเวอร์คาร์ ซึ่งประกอบด้วยห้องผู้โดยสาร 2 ที่นั่ง สามารถบังคับยานให้หมุนได้รอบทิศทางไม่ว่าจะเดินทางไปทางไหนสามารถเลี้ยวได้อย่างคล่องแคล่วซึ่งแม้ว่ามันอาจดูโคลงเคลง แต่จะมีการออกแบบระบบความปลอดภัยให้กับผู้โดยสารด้วยการทำเซ็นเซอร์ตรวจจับสิ่งกีดขวาง ที่จะลดความเร็วให้โดยอัตโนมัติ โครงการดังกล่าวเกิดจ่ากความคิดสร้างสรรค์ของชาวจีน ที่เปิดตัวไปแล้วเมื่อปีที่ผ่านมาโดย ไซมอน โลสบี หัวหน้าทีมออกแบบของโฟล์กสวาเกน(Volkswagen) Group ของจีน กล่าวว่าแนวโน้มรถในอนาคตจะเป็นรถที่เสริมสมรรถนะด้านความปลอดภัยแก่ผู้โดยสาร และจะตอบโจทย์ว่าทำอย่างไรให้การเดินทางหลีกเลี่ยงการจราจรที่แออัด

          ในปัจจุบัน (Hover Car) สามารถเคลื่อนไหวลอยจากพื้นดินไปมาได้ ตามใจปรารถนา ควบคุมทิศทางจากจอยสติ๊ก ซึ่งการลอยตัวของรถคันนี้จะอาศัย โดยหลักการปล่อยสนามแม่เหล็กออกมาคุณสามารถเข้าไปชมคลิปตัวอย่างการเคลื่อนที่ของรถลอยได้จากเว็บไซต์ยูทูปในชื่อวิดีโอ “Volkswagen’s The People’s Car Project: Hover Car PART 1” ซึ่งหลังจากได้ชมคลิปนี้แล้ว หลายคนต่างรอคอยให้ โฟล์กสวาเกน (Volkswagen) ผลิตรถรุ่นนี้ออกมาขายไนประเทศไทยบ้าง
Volkswagen Hover Car ได้รับการพรีเซ้นต์ในงาน 2012 Beijing Auto Show ที่เพิ่งผ่านพ้นไปช่วงปลายเดือน เมษายน 2555 นี้เอง
(คลิปนี้มีคำบรรยายในวีดีโอ)







ระบบโซล่าเซลล์แบบพอเพียง

ดูรายละเอียดคลิก


ที่มา : ARIP พันทิพย์ สนุก M-Thai

ทำไม Google และ Apple ต่างเดินหน้าเข้าธุรกิจโซล่าเซลล์


โซล่าเซลล์



       
          บีบีซีรายงานข่าวคราวในแวดวงไอทีช่วงนี้ทั้งบริษัทแอปเปิ้ล และกูเกิ้ล สองยักษ์ใหญ่ผู้พัฒนาเทคโนโลยีจากประเทศสหรัฐอเมริกา หันไปให้ความสนใจเทคโนโลยีพลังงานจากแสงอาทิตย์อย่างมาก
          คนทั่วไปอาจคิดว่า แอปเปิ้ล เป็นเพียงแค่ยักษ์ใหญ่ทางด้านธุรกิจคอมพิวเตอร์และสมาร์ตโฟน เช่นเดียวกันกันกับกูเกิ้ลที่เป็นผู้นำในแวดวงคอมพิวเตอร์และเสิร์ชเอ็นจิ้น

(FILES) This file photo taken on September 17, 2012 shows the Apple logo on the Apple store on 5th Avenue in New York. Wall Street stocks jumped early October 10, 2016 with Apple gaining on news of more trouble with rival smartphone-maker Samsung and petroleum-linked shares advancing on higher oil prices. Apple rose 1.6 percent as Samsung Electronics acknowledged it was adjusting production of the Galaxy Note 7 smartphone due to reports that replacement units for devices with exploding lithium-ion batteries are also catching fire. / AFP PHOTO / DON EMMERT
AFP PHOTO / DON EMMERT

          ความจริงนี้เปลี่ยนไปแล้วเพราะเมื่อปี 2558 แอปเปิ้ล เพิ่งได้รับใบอนุญาตจากรัฐแคลิฟอร์เนียให้ขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้ สอดคล้องกับความเคลื่อนไหวที่ผ่านมาของแอปเปิ้ลที่หันมาลงทุนด้านเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ เนื่องจากต้องการให้ไฟฟ้าที่หล่อเลี้ยงธุรกิจของทางค่ายมาจากเทคโนโลยีพลังงานทางเลือกทั้งหมด ไม่เว้นแม้แต่ อะเมซอน เว็บไซต์ซื้อขายสินค้าออนไลน์ชื่อดัง ที่เพิ่งประกาศสร้างกังหันผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม กำลังผลิต 253 เมกะวัตต์ ทางภาคตะวันตกของรัฐเท็กซัส
applesolar
          ขณะที่กูเกิ้ล ก็ไม่น้อยหน้า เพราะอยู่ระหว่างความร่วมมือลงทุนกับ อีวานปาห์ โซลาร์ อิเล็กทริก เจเนอเรติง ซิสเต็ม (SEGS) และ ซันพาวเวอร์ เพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ คำถามที่น่าสนใจ คือ ทำไมบรรดายักษ์ใหญ่ผู้พัฒนาเทคโนโลยีของโลกถึงสนใจพลังงานทางเลือกกันนัก
1120
          แอช ชาร์มา นักวิเคราะห์จากสถาบัน ไอเอชเอส เทคโนโลยี กล่าวว่า บริษัทเหล่านี้มีต้นทุนทางด้านพลังงานสูงมาก เนื่องจากมีองคาพยพจำนวนมากที่ต้องใช้ไฟฟ้าหล่อเลี้ยงตลอดเวลา พูดง่ายๆ คือ ค่าไฟแพงว่างั้นเถอะ ดังนั้นการจำกัดต้นทุนทางด้านพลังงานและรักษาต้นทุนด้านนี้ไว้ให้คงที่ถือเป็นสิ่งที่สำคัญต่อกำไรของบริษัท

          ชาร์มา ระบุว่า พลังงานไฟฟ้าที่นำไปหล่อเลี้ยงธุรกิจของบริษัทเหล่านี้ส่วนใหญ่หมดไปกับบรรดาเครื่องเซิร์ฟเวอร์ในศูนย์ข้อมูลขนาดยักษ์และยังต้องหล่อเย็นไว้ตลอดเวลาทุกวัน การลงทุนด้านนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญ
          ขณะที่กูเกิ้ลนั้นน่าจะประโยชน์อื่นแฝงอยู่อีก นั่นคือ การสำรวจและศึกษาข้อมูลต่อพลังงานจากแสงอาทิตย์ว่าที่สุดแล้วมีประสิทธิภาพเพียงใดหากจะนำมาใช้แทนพลังงานเก่า นำไปสู่แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายพลังงานแสงอาทิตย์ในอนาคต
google_campus_mountain_view_ca
          ข้อมูลบ่งชี้ว่าราคาค่าไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์นั้นมีแนวโน้มลดต่ำลงอย่างรวดเร็วกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ยกตัวอย่างเช่นการแข่งขันประมูลกันเมื่อเดือนก.ย.ที่ผ่านมา ระหว่างเอกชนของจีนกับญี่ปุ่นในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่รัฐอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ส่งผลให้เกิดการแข่งขันกันด้านราคาจนต้นทุนค่าไฟเหลือเพียง 2.5 เซนต์ ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง หรือไม่เกิน 88 สตางค์ต่อหน่วย (ไม่คิดอัตราก้าวหน้า) ถือว่าถูกกว่าค่าไฟในสหรัฐปัจจุบัน
china-solar-power
          ชาร์มากล่าวว่า สาเหตุที่ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่องมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการผลิตแผ่นเก็บพลังงานสุริยะ หรือโซลาร์เซลล์ โดยเฉพาะหลังจากจีนที่เข้ามามีบทบาทในภาคการผลิตอย่างมหาศาล
          ปัจจุบัน จีนเป็นผู้ผลิตแผ่น โซล่าเซลล์ ร้อยละ 80 ของทั้งโลก ส่งผลให้ต้นทุนโดยรวมในการก่อสร้างโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ลดต่ำลง ทำให้เริ่มเห็นโรงไฟฟ้าประเภทนี้เพิ่มจำนวนขึ้น และมีขนาดใหญ่ขึ้นด้วย เทียบให้เห็นภาพ เช่น เมื่อหลายปีก่อนโครงการโรงไฟฟ้าประเภทนี้เพียง 50 เมกะวัตต์ก้ถือว่าใช้งบประมาณมหาศาลแล้ว

          ทว่า ด้วยเหตุผลข้างต้นนี้เองทำให้โครงการปัจจุบันนั้นมีขนาดกำลังผลิตหลายร้อยเมกะวัตต์ รวมไปถึงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก กำลังผลิต 750 เมกะวัตต์ ที่รัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย ชื่อ เรวา อัลตร้า เมกา โซลาร์ มีกำหนดเสร็จสิ้นในปี 2560

 AFP PHOTO
AFP PHOTO

          ยังไม่หมดเท่านี้ ภาคการวิจัยต่อเทคโนโลยีประเภทนี้ก็กำลังรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว เช่น การใช้วัสดุใหม่ในในโซลารเซลล์ที่มีคุณสมบัติเดียวกันกับเพอร์โรฟสไกป์ หรือ แคลเซียมไทเทเนียมออกไซด์ (calcium titanium oxide) ทางเลือกที่ไม่แพงสำหรับการเลือกใช้แทนที่ซิลิกอน หากสำเร็จก็จะยิ่งทำให้โซล่าเซลล์มีราคาถูกลงไปอีก
          ไอเอชเอส ระบุว่า พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากแสงอาทิตย์จะคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 1 ทั่วโลก แต่ภายในปี 2560 นี้ คาดว่า ต้นทุนการผลิตจะมีราคาต่ำลงไปอีกร้อยละ 30 เหตุผลที่บรรดายักษ์ใหญ่ทางเทคโนโลยีเหล่านี้สนใจเทคโฯนโลยีชนิดนี้นั้นง่ายมาก คำตอบก็คือ เพราะพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานทางเลือกแห่งอนาคตนั่นเอง


ที่มา https://www.khaosod.co.th/sci-tech/news_55704 

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สินค้าพลังงานแสงอาทิตย์และอุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์

สินค้าพลังงานแสงอาทิตย์


( จาก ลาซาด้า - Lazada Thailand )
ขั้นตอนการสั่งซื้อสินค้า

        1. คลิกที่รูปสินค้าพลังงาน์อาทิตยที่ท่านสนใจเพื่อดูรายละเอียดสินค้าและเช็คราคาล่าสุด
        2. กรุณารอสักครู่ ระบบจะนำท่านไปยังหน้าสินค้าหรือร้านค้านั้น
        3. ท่านจะทราบรายละอียดสินค้าและราคา กดปุ่ม "ใส่ตระกร้า" เพื่อทำการสั่งซื้อสินค้า 
        4. กรอกรายละเอียด email ที่อยู่และเบอร์โทรของท่านเพื่อการจัดส่ง
        5. รอรับสินค้าโซล่าเซลล์ของท่านภายในวันรุ่งขึ้น หรืออย่างช้าไม่เกิน 3 วันงาน

... จัดส่งฟรีถึงบ้าน ชำระค่าสินค้าปลายทาง ...
*   ขนส่งสินค้าโดย       และ  


   คลิกที่รูปสินค้าเพื่อดูรายละเอียด   

XML-Solar หลอดไฟโซล่าเซลล์ 48 LED (Indoor) อเนกประสงค์

ชุดหลอดไฟโซล่าเซลล์

ราคา 1,420 บาท
XML-Solar ไฟสปอตไลท์โซล่าเซลล์ 80 LED

สปอร์ตไลท์ 80 LED

ราคา 3,900 บาท
XML-Solar โคมผนัง ทรงบ้าน + Motion sensor

โคมไฟผนังพร้อม Sensor

ราคา 1,250 บาท
Thaivasion 50W /18V แผงโซล่าเซลล์ Monocrystalline

แผงโซล่าเซลล์ Mono. 50W

ราคา 1,950 บาท
Thaivasion แผงโซล่าเซลล์ Polycrystalline 10W สำหรับชาร์จแบตเตอรี่ 12V - 18V

แผงโซล่าเซลล์ Poly. 10W

ราคา 590 บาท
Thaivasion แผงโซล่าเซลล์ Polycrystalline ขนาดเล็ก 5v 220mA (2แผง/ชุด)

แผงโซล่าเซลล์ Poly. 5V

ราคา 190 บาท
Thaivasion 10A 12/24V auto solar charge controllers with LED display (Black)

เครื่องควบคุมการชาร์จ 10A

ราคา 650 บาท
Thaivasion Solar Charge Controller 12v/24v 20A -Blue

เครื่องควบคุมการชาร์จ 20A

ราคา 650 บาท
Thaivasion 30A 12/24V auto solar charge controllers with LED display -Black

เครื่องควบคุมการชาร์จ 30A

ราคา 1,150 บาท
Thaivasion อะแดปเตอร์แปลงไฟรถยนต์ 12VDC เป็นไฟบ้าน 220VAC ขนาด 150วัตต์

แปลงไฟรถ to ไฟบ้าน 150W

ราคา 480 บาท
Thaivasion 300W Pure Sine Wave Power Inverter 12VDC to 220VAC

Inverter 300W Pure Sine

ราคา 2,250 บาท
Thaivasion UKC  Power Inverter 1000W with Charger 12V DC to 220V AC Output

Inverter 1KW Modifier

ราคา 1,190 บาท
ไฟตั้งพื้นสนาม โซล่าเซลล์ 32 LED- เเสงขาว (1 เมตร)

ไฟสนามโซล่าเซลล์ 32 Led

ราคา 900 บาท
XML-Solar ไฟส่องทางโซล่าเซลล์ ทรง CCTV + Motion sensor

ไฟส่องทางโซล่าเซลล์+Sensor

ราคา 1,280 บาท
XML-Solar สปอร์ตไลท์โซล่าเซลล์ 60 LED + Motion sensor

สปอร์ตไลท์ 60 LED+Sensor

ราคา 2,100 บาท
Thaivasion เครื่องกำเนิดแสงสว่างพลังงานแสงอาทิตย์ 12V 7AH

ระบบโซล่าเซลล์เคลื่อนที่

ราคา 2,700 บาท
Thaivasion  12-80VDC/21W หลอดไฟประหยัดพลังงาน LED  หลอด/แพ็ค2  ( สีขาว )

หลอดไฟ LED 12-80 VDC

ราคา 470 บาท
Thaivasion ไฟฉายพลังงานแสงอาทิตย์

ไฟฉายพลังงานแสงอาทิตย์

ราคา 290 บาท
ไฟฉาย โซล่าเซลล์ 3 LED+ ด้ามปั่นไฟด้วยมือ (สีดำ)

ไฟฉายพลังงานแสงอาทิตย์

ราคา 385 บาท
XML-Solar ไฟเตือนกรวยจราจร ฉุกเฉิน พลังงานเเสงอาทิตย์ (สีแดง)

ไฟจราจรพลังงานแสงอาทิตย์

ราคา 320 บาท
XML-Solar ไฟกระพริบโซล่าเซลล์ รูป หยดน้ำ 20 ชิ้น เเสง (เหลืองวอมไวท์)

ไฟกระพริบพลังงานแสงอาทิตย์

ราคา 600 บาท
Power Bank โซล่าเซลล์ 30,000 mAh - สีทอง (ฟรี สาย USB 3in1 + ซองกันรอย)

แบตเตอรี่สำรอง 30,000 mA

ราคา 359 บาท
M&N Power Bank โซล่าเซลล์ 50000mAh รุ่น Q10 - Silver ฟรี ซองกำมะหยี่+ USB 3 in 1

แบตเตอรี่สำรอง 50,000 mA

ราคา 559 บาท
SMART LIKE แบตสำรอง โซล่าเซล กันน้ำ 50,000mAh (สีส้ม)

แบตเตอรี่สำรอง 50,000 mA กันน้ำ

ราคา 559 บาท
OEM ชาร์จเจอร์โซล่าเซลล์ รุ่น KTD1210

เครื่องควบคุมการชาร์จ 10A

ราคา 510 บาท
OEM Solar Charger โซล่าชาร์จเจอร์ รุ่น CM3024Z (Black)

เครื่องควบคุมการชาร์จ 30A

ราคา 1,250 บาท
OEM Solar Charger โซล่าชาร์จเจอร์ รุ่น CM6024Z (Black)

เครื่องควบคุมการชาร์จ 60A

ราคา 3,100 บาท
โคมไฟถนน IP65

โคมไฟ LED 20W 12-24 VDC

ราคา 890 บาท
Suntree  ฟิวส์ดีซี DC Fuse 15A 1000V สำหรับระบบโซล่าเซลล์พร้อมกล่องใส่ฟิวส์   รุ่น  15A-10F   (White)

ฟิวส์ DC สำหรับงานโซล่าเซลล์

ราคา 890 บาท
Suntree SUP2-PV - ตัวป้องกันฟ้าผ่าฝั่ง DC สำหรับระบบโซล่าเซลล์ พิกัดกระแส 20kA - DC Surge Protector 20kA (Orange)

ป้องกันฟ้าผ่าระบบโซล่าเซลล์

ราคา 890 บาท
OEM โคมไฟโซล่าเซลล์ 4 LED เเสง:ขาว

โคมไฟพลังงานแสงอาทิตย์

ราคา 300 บาท
โคมไฟโซล่าเซลล์ ทรงกลม  3 LED(ใหญ่) เเสง : ขาว

โคมไฟพลังงานแสงอาทิตย์

ราคา 300 บาท
โคมไฟโซล่าเซลล์ 6 LED เเสง:ขาว

โคมไฟพลังงานแสงอาทิตย์

ราคา 350 บาท
KAKUKI ไฟสปอร์ตไลท์ โซล่าเซลล์ 60 LED แสงสีขาว

สปอร์ตไลท์  60 LED

ราคา 1,199 บาท
OEM Solar Cell Kit 3W with LED

ชุด Kit ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

ราคา 990 บาท
Sunday หลอดไฟ LED Solar Lamp 12LED ควบคุมระยะไกล + ที่ชาร์จไฟพลังงานแสงอาทิตย์ (สีเหลือง) แถมฟรี พวงกุญแจ

หลอดไฟควบคุมระยะไกล

ราคา 990 บาท
Emall ไฟกันขโมยติดกำแพง โซล่าเซลล์ SL-10P 16 LED-motion sensor (Silver)

โคมไฟกันขโมย

ราคา 399 บาท
Eago craft พลังงานแสงอาทิตย์ โคมไฟโซล่าเซลล์รุ่นสปอตไลท์ LED 3 ดวง (แพ็คคู่)

โคมไฟพลังงานแสงอาทิตย์

ราคา 449 บาท
Eago craft Solar cell โคมไฟโซล่าเซลล์ รุ่นคบเพลิง - สีบีช (1แถม1)

โคมไฟพลังงานแสงอาทิตย์

ราคา 790 บาท
LED  Sportlight Led 12V10W (Silver)

สปอร์ตไลท์ 10W 12VDC

ราคา 299 บาท
LED  โคมไฟถนน โคมไฟ LED 12W 12V - Black (2 ชิ้น)

โคมไฟถนน 12W แพคคู่

ราคา 1,780 บาท
LED  Sportlight Led 12V20W - Silver

สปอร์ตไลท์ 20W 12VDC

ราคา 790 บาท
Sunday ไฟสปอร์ตไลท์ โซล่าเซลล์ 60 LED ฟรี ขาปักพื้น ปุ๊ก/น๊อต สำหรับติดตั้งตั้ง

โคมไฟพลังงานแสงอาทิตย์

ราคา 1,550 บาท
Station ตะเกียงพลังงานแสงอาทิตย์ รุ่น G-85 (สีดำ)

ตะเกียงพลังงานแสงอาทิตย์

ราคา 270 บาท
Sunday ไฟหัวเสา โซล่าเซลล์ รูปถ้วย - White

โคมไฟพลังงานแสงอาทิตย์

ราคา 2,890 บาท
LED ขั้วเกลียวทั่วไป E27 รุ่น 3W12V-DL (ชุด 10 หลอด) 2ชุด

LED 3W 12VDC 10 หลอด

ราคา 1,300 บาท
LED  Sportlight Led 12V30W - Silver

สปอร์ตไลท์ 30W 12VDC

ราคา 749 บาท
OEM โคมสปอร์ตไลท์ 10 วัตต์พร้อมเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว

สปอร์ตไลท์พร้อม Sensor

ราคา 580 บาท
Sunday ไฟกันขโมยติดกำแพง โซล่าเซลล์ ใหญ่ ขนาด 46 LED แถมฟรี ตัวเปิดสวิตช์/ ปุ๊ก/น็อต

โคมไฟกันขโมย ขนาดใหญ่

ราคา 790 บาท
Eago craft Solarcell โคมไฟโซล่าเซลล์กระเบื้อง Mosaic (ซื้อ1แถม1)

โคมไฟพลังงานแสงอาทิตย์

ราคา 299 บาท
PowerBee ไฟติดผนัง โซล่าเซลล์ เปิดอัตโนมัติ 2 LED.

โคมไฟพลังงานแสงอาทิตย์

ราคา 250 บาท