โซล่าเซลล์
บีบีซีรายงานข่าวคราวในแวดวงไอทีช่วงนี้ทั้งบริษัทแอปเปิ้ล และกูเกิ้ล สองยักษ์ใหญ่ผู้พัฒนาเทคโนโลยีจากประเทศสหรัฐอเมริกา หันไปให้ความสนใจเทคโนโลยีพลังงานจากแสงอาทิตย์อย่างมาก
คนทั่วไปอาจคิดว่า แอปเปิ้ล เป็นเพียงแค่ยักษ์ใหญ่ทางด้านธุรกิจคอมพิวเตอร์และสมาร์ตโฟน เช่นเดียวกันกันกับกูเกิ้ลที่เป็นผู้นำในแวดวงคอมพิวเตอร์และเสิร์ชเอ็นจิ้น
ความจริงนี้เปลี่ยนไปแล้วเพราะเมื่อปี 2558 แอปเปิ้ล เพิ่งได้รับใบอนุญาตจากรัฐแคลิฟอร์เนียให้ขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้ สอดคล้องกับความเคลื่อนไหวที่ผ่านมาของแอปเปิ้ลที่หันมาลงทุนด้านเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ เนื่องจากต้องการให้ไฟฟ้าที่หล่อเลี้ยงธุรกิจของทางค่ายมาจากเทคโนโลยีพลังงานทางเลือกทั้งหมด ไม่เว้นแม้แต่ อะเมซอน เว็บไซต์ซื้อขายสินค้าออนไลน์ชื่อดัง ที่เพิ่งประกาศสร้างกังหันผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม กำลังผลิต 253 เมกะวัตต์ ทางภาคตะวันตกของรัฐเท็กซัส
ขณะที่กูเกิ้ล ก็ไม่น้อยหน้า เพราะอยู่ระหว่างความร่วมมือลงทุนกับ อีวานปาห์ โซลาร์ อิเล็กทริก เจเนอเรติง ซิสเต็ม (SEGS) และ ซันพาวเวอร์ เพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ คำถามที่น่าสนใจ คือ ทำไมบรรดายักษ์ใหญ่ผู้พัฒนาเทคโนโลยีของโลกถึงสนใจพลังงานทางเลือกกันนัก
แอช ชาร์มา นักวิเคราะห์จากสถาบัน ไอเอชเอส เทคโนโลยี กล่าวว่า บริษัทเหล่านี้มีต้นทุนทางด้านพลังงานสูงมาก เนื่องจากมีองคาพยพจำนวนมากที่ต้องใช้ไฟฟ้าหล่อเลี้ยงตลอดเวลา พูดง่ายๆ คือ ค่าไฟแพงว่างั้นเถอะ ดังนั้นการจำกัดต้นทุนทางด้านพลังงานและรักษาต้นทุนด้านนี้ไว้ให้คงที่ถือเป็นสิ่งที่สำคัญต่อกำไรของบริษัท
ชาร์มา ระบุว่า พลังงานไฟฟ้าที่นำไปหล่อเลี้ยงธุรกิจของบริษัทเหล่านี้ส่วนใหญ่หมดไปกับบรรดาเครื่องเซิร์ฟเวอร์ในศูนย์ข้อมูลขนาดยักษ์และยังต้องหล่อเย็นไว้ตลอดเวลาทุกวัน การลงทุนด้านนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญ
ขณะที่กูเกิ้ลนั้นน่าจะประโยชน์อื่นแฝงอยู่อีก นั่นคือ การสำรวจและศึกษาข้อมูลต่อพลังงานจากแสงอาทิตย์ว่าที่สุดแล้วมีประสิทธิภาพเพียงใดหากจะนำมาใช้แทนพลังงานเก่า นำไปสู่แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายพลังงานแสงอาทิตย์ในอนาคต
ข้อมูลบ่งชี้ว่าราคาค่าไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์นั้นมีแนวโน้มลดต่ำลงอย่างรวดเร็วกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ยกตัวอย่างเช่นการแข่งขันประมูลกันเมื่อเดือนก.ย.ที่ผ่านมา ระหว่างเอกชนของจีนกับญี่ปุ่นในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่รัฐอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ส่งผลให้เกิดการแข่งขันกันด้านราคาจนต้นทุนค่าไฟเหลือเพียง 2.5 เซนต์ ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง หรือไม่เกิน 88 สตางค์ต่อหน่วย (ไม่คิดอัตราก้าวหน้า) ถือว่าถูกกว่าค่าไฟในสหรัฐปัจจุบัน
ชาร์มากล่าวว่า สาเหตุที่ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่องมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการผลิตแผ่นเก็บพลังงานสุริยะ หรือโซลาร์เซลล์ โดยเฉพาะหลังจากจีนที่เข้ามามีบทบาทในภาคการผลิตอย่างมหาศาล
ปัจจุบัน จีนเป็นผู้ผลิตแผ่น โซล่าเซลล์ ร้อยละ 80 ของทั้งโลก ส่งผลให้ต้นทุนโดยรวมในการก่อสร้างโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ลดต่ำลง ทำให้เริ่มเห็นโรงไฟฟ้าประเภทนี้เพิ่มจำนวนขึ้น และมีขนาดใหญ่ขึ้นด้วย เทียบให้เห็นภาพ เช่น เมื่อหลายปีก่อนโครงการโรงไฟฟ้าประเภทนี้เพียง 50 เมกะวัตต์ก้ถือว่าใช้งบประมาณมหาศาลแล้ว
ทว่า ด้วยเหตุผลข้างต้นนี้เองทำให้โครงการปัจจุบันนั้นมีขนาดกำลังผลิตหลายร้อยเมกะวัตต์ รวมไปถึงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก กำลังผลิต 750 เมกะวัตต์ ที่รัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย ชื่อ เรวา อัลตร้า เมกา โซลาร์ มีกำหนดเสร็จสิ้นในปี 2560
ยังไม่หมดเท่านี้ ภาคการวิจัยต่อเทคโนโลยีประเภทนี้ก็กำลังรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว เช่น การใช้วัสดุใหม่ในในโซลารเซลล์ที่มีคุณสมบัติเดียวกันกับเพอร์โรฟสไกป์ หรือ แคลเซียมไทเทเนียมออกไซด์ (calcium titanium oxide) ทางเลือกที่ไม่แพงสำหรับการเลือกใช้แทนที่ซิลิกอน หากสำเร็จก็จะยิ่งทำให้โซล่าเซลล์มีราคาถูกลงไปอีก
ไอเอชเอส ระบุว่า พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากแสงอาทิตย์จะคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 1 ทั่วโลก แต่ภายในปี 2560 นี้ คาดว่า ต้นทุนการผลิตจะมีราคาต่ำลงไปอีกร้อยละ 30 เหตุผลที่บรรดายักษ์ใหญ่ทางเทคโนโลยีเหล่านี้สนใจเทคโฯนโลยีชนิดนี้นั้นง่ายมาก คำตอบก็คือ เพราะพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานทางเลือกแห่งอนาคตนั่นเอง
ไอเอชเอส ระบุว่า พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากแสงอาทิตย์จะคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 1 ทั่วโลก แต่ภายในปี 2560 นี้ คาดว่า ต้นทุนการผลิตจะมีราคาต่ำลงไปอีกร้อยละ 30 เหตุผลที่บรรดายักษ์ใหญ่ทางเทคโนโลยีเหล่านี้สนใจเทคโฯนโลยีชนิดนี้นั้นง่ายมาก คำตอบก็คือ เพราะพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานทางเลือกแห่งอนาคตนั่นเอง
ที่มา https://www.khaosod.co.th/sci-tech/news_55704
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น